วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การทำน้ำวาดหางจระเข้

   
 ส่วนผสม 
 เนื้อว่านหางจระเข้ประมาณ 1 ถ้วยตวง (250 กรัม) 
 น้ำสะอาด 3 ถ้วยตวง 
 ใบเตยสด 2-3 ใบ 
 น้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ 
   
   


วิธีทำ
-
ให้เลือกใบขนาดใหญ่ที่อยู่ส่วนล่างๆ ของกอว่านสัก 1 ใบมาใช้ก่อน เพราะจะให้วุ้นมากกว่าใบเล็ก ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างให้หมดยาง แล้วนำลงภาชนะเคลือบหรือแก้วทนไฟ
-
เติมน้ำสะอาดประมาณ 3 ถ้วยตวง นำขึ้นต้มด้วยความร้อนปานกลาง
-
ระหว่างรอวุ้นสุก นำใบเตยสดประมาณ 2-3 ใบ มาซอยละเอียดแล้วคั้นด้วยน้ำอุ่นจัด ๆ ให้ได้น้ำใบเตยสดประมาณครึ่งถ้วยตวง
-
เมื่อวุ้นว่านหางจระเข้สุกแล้ว ยกลงตักเฉพาะวุ้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำลงเครื่องปั่น พร้อมน้ำใบเตยสด น้ำสุกครึ่งถ้วยตวง และน้ำแข็งเกล็ด ประมาณครึ่งถ้วยตวง อาจเติมน้ำเชื่อมสัก 1 ช้อนโต๊ะ
-
ปั่นสว่นผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน เสิร์ฟทันที ว่านหางจระเข้มีน้ำยาง ที่ทำให้สตรีมีครรภ์ สตรีที่อยู่ระหว่างมีรอบเดือน ผู้ที่เป็นริดสีดวง เกิดอาการแพ้ได้


หมายเหตุ :ความโดดเด่นที่รู้กันทั่วไปของว่านหางจระเข้ก็คือ ว่านทรงคุณค่าชนิดนี้เป็นเสมือนโรงงานอุตสาหกรรมจากธรรมชาติที่เต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจากวุ้นใสๆ ที่อยู่ภายในใบอันยาวหนา ปลายแหลม ซึ่งเต็มไปด้วยสารอล็อคติน อโลอิโมดิน อโลซิน อโลอิน ไกลโคโปรตีน และโพลีซัคคาไรด์ ที่มีฤทธิ์เร่งการจับตัวของเลือดและเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย ใช้ทาเพื่อสมานบาดแผลไฟไหม้ แผลที่เกิดจากความร้อน รังสีเอกซ์ รังสีจากสารกัมมันตรังสี น้ำร้อนลวก แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ หรือผิวหนังไหม้ที่เกิดจากถูกแดดเผา และยังมีสารบราดิไคนิเนส (Bradykininase) ที่ช่วยดูดพิษเพื่อลดการอักเสบของบาดแผลได้ดียิ่ง มีสารอโลอัลซิน ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์ฮิสตามีน และส่วนรากมีฤทธิ์บรรเทา อาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ ยางสีเหลืองจากเปลือก มีสารแอนทราควิโนน ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ วุ้นจากว่านหางจระเข้ จะช่วยบำรุงร่างกาย บรรเทาความอ่อนเพลีย เนื่องจากพักผ่อนน้อย รวมไปถึงการบำบัดแผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี
 
  แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 52 ตุลาคม 2547 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น