วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สูตรการหาค่าเฉลี่ย

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่าค่าเฉลี่ย เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (x¯) เป็นค่ากลางทางสถิติค่าหนึ่ง ที่เจอบ่อยและใช้เยอะมาก
หลักการการหาค่าเฉลี่ยง่ายๆ  คือ เอาค่าทั้งหมดที่มีรวมกัน แล้วนำมา หารด้วย จำนวนของข้อมูล

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลไม่แจกแจงความถี่

ข้อมูลไม่แจกแจงความถี่จะมีลักษณะเป็นตัวๆ คือ x1,x2,,xn ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ  
x1+x2++xnn

ตัวอย่างการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบไม่แจกแจงความถี่

สมมุติข้อมูลคือ 1,2,2,5,7,11,15,9 ให้หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
จะได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตคือ 
1+2+2+5+7+11+15+98=528=6.5
6.5

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบแจกแจงความถี่

ข้อมูลแจกแจงความถี่ คือ ข้อมูลที่ให้มาเป็นช่วงไม่สามารถบอกได้ว่าแต่ละตัวมีค่าเท่าไหร่ เช่น ในช่วง 2130 มีจำนวน 10 คน เราไม่สามารถบอกได้ว่าใน 10 คนนี้แต่ละคนมีค่าเท่าใด แล้วเราจะหาผลรวมได้ยังไง?
เนื่องจากเราเชื่อว่าในช่วง 2130 นั้นย่อมมีทั้งคนที่ได้คะแนนมากและน้อยอยู่รวมกัน จึงใช้วิธีที่บอกว่าแต่ละตัวมากน้อยเท่าไหร่ไม่รู้ แต่สุดท้ายต้องเอามารวมกันอยู่ดี เราเลยประมาณได้ว่าทุกตัวมีค่าอยู่ตรงกลางพอดี
ดังนั้นถ้าเราให้ xi แทนจุดกึ่งกลางชั้นที่ i และ fi แทนความถี่ในชั้นนั้น จะได้ว่าในชั้นนั้นมีผลรวมเท่ากับ xifi
จะได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตคือ
x1f1+x2f2++xkfkn=i=1kxifin

เมื่อข้อมูลมีทั้งหมด k ชั้น และมีจำนวนทั้งหมด n ตัว

ตัวอย่างการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลแบบเจกแจงความถี่

สมมุติข้อมูลที่กำหนดให้คือ
คะแนน
จำนวน
นักเรียน
31-40
5
41-5010
51-608
61-702

 จากข้อมูลจะได้
คะแนนจำนวน
นักเรียน (fi)
xixifi
31-40535.5
177.5
41-501045.5445
51-60855.5444
61-70265.5131
ดังนั้นค่าเฉลี่ยเลขคณิตคือ
177.5+445+444+1315+10+8+2=1197.525=47.9
47.9

สูตรลดทอนในการคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิต

เมื่อหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบแจกแจงความถี่แล้วนั้นจะเห็นว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่อัตภาคชั้นแต่ละชั้น เป็นจำนวนที่มีค่ามาก ๆ จะต้องคิดเลขเยอะมาก ซึ่งนอกจากจะน่าเบื่อในการคิดเลขแล้ว ยังทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย เราจึงมีสูตรลดทอนที่ทำให้การคิดเลขน้อยลง
นั้นคือ
x¯=a+Ii=1kdifin
เมื่อ di=xiaI และ k เป็นจำนวนอัตราภาคชั้น
โดยกำหนดให้ a เป็นค่ากลางสมมุติ จะเลือกจากจุดกึ่งกลางชั้นชั้นใดก็ได้ แต่นิยมใช้ชั้นที่มีความถี่สูงสุด หรือชั้นที่อยู่ตรงกลาง
เมื่อIแทนความกว้างของอัตราภาคชั้นfiแทนความถี่ของแต่ละอัตรภาคชั้นnแทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด
จากสูตรการลดทอนข้างบน จะดูเหมือนกับว่าสูตรจำยากมาก แต่จริงๆ  แล้ว ส่วนมากข้อสอบที่ออกจะมีความกว้างอัตรภาคชั้นที่เท่ากันทั้งหมดทำให้การหา di นั้นง่ายมาก เพียงแค่ยึดอัตราภาคชั้นที่เราสมมุติให้มีค่ากลางอยู่มีค่า d=0 หลังจากนั้น ถ้าชั้นด้านล่างให้ลบหนึ่งไปเรื่อย ๆ ถ้าชั้นด้านบนให้บวกหนึ่งไปเรื่อย ๆ แค่นั้นเอง

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตจากสูตรลดทอน

จากข้อมูลที่กำหนดให้จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ความสูง (ซม.)จำนวนคน
151-155
5
156-16020
161-16537
166-17023
171-17518
175-1802

จากข้อมูลเลือกจุดกึ่งกลางชั้นที่ต้องการให้เป็นค่ากลางสมมุติ
ในข้อนี้สังเกตุว่าไม่มีชั้นที่อยู่ตรงกลางพอดี ดังนั้นให้เลือกชั้นที่อยู่เกือบกลางและความถี่สูงสุด นั้นคือชั้นที่ 3 ดังนั้นค่า a=163
จากนั้นให้สร้างตารางใหม่คือ
ความสูง (ซม.)จำนวนคนdi
151-1555-2
156-16020-1
161-165370
166-170231
171-175182
176-18023
ดังนั้นค่าเฉลี่ยเลขคณิตคือ
x¯=163+(2)(5)+(1)(20)+(0)(37)+(1)(23)+(2)(18)+(3)(2)5+20+37+23+18+2=163+1020+0+23+36+6105=163+35105163+0.333=163.333
163.333

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนัก

ปกติเวลาเราคิดค่าเฉลี่ยเลขคณิตหลักการคือเอาทุกตัวมาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนตัวทั้งหมด จริง ๆ แล้ววิธีที่เราพูดถึงก็เป็นการถ่วงน้ำหนักเหมือนกัน แต่เป็นการถ่วงน้ำหนักที่ทุกตัวมีน้ำหนักเท่ากันคือ 1 
หลักการคิด ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนัก เป็นการคิดค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ให้ความสำคัญของข้อมูลแต่ละตัวไม่เท่ากันตัวไหนสำคัญมากน้อย ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ให้ 
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนักที่พบบ่อยมาก คือ การคิดเกรดเฉลี่ย เนื่องจากเวลาคิดเกรดเฉลี่ยเราจะให้ความสำคัญของแต่ละวิชาไม่เท่ากัน 

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนัก

นักเรียนคนหนึ่ง ได้ทำการทดสอบจำนวน 4 วิชา ซึ่งผลการทดสอบที่ได้คือ
วิขาน้ำหนักเกรด
คณิตศาสตร์2.53.0
ภาษาไทย24.0
วิทยาศาสตร์2.53.5
ศิลปะ14.0
จงหาเกรดเฉลี่ยของนักเรียนคนนี้
ปกติถ้าโจทย์ให้หาค่าเฉลี่ยเราจะเอาเกรดทั้งหมดบวกกันแล้วหารด้วย 4 ซึ่งสำหรับข้อนี้จะทำให้ผิด 
เพราะว่าวิชาศิลปะมีผลในการคิดเกรดเฉลี่ยน้อยมาก 
ดังนั้นเวลาเราคิดค่าเฉลี่ยที่มีการถ่วงน้ำหนัก ให้ยึดน้ำหนักของแต่ละตัวเป็นหลัง
ในข้อนี้
  • คณิตศาสตร์ ให้น้ำหนัก 2.5 เวลาเราเอามาคิดค่าเฉลี่ยต้องมองเหมือนมีเกรดของคณิตอยู่ 2.5 ตัว ซึ่งจะได้ผลรวมของวิชานี้คือ (2.5)(3.0)=7.5
  • ภาษาไทย ให้น้ำหนัก 2 เราก็จะคิดว่ามีเกรดวิชานี้ 2 ตัว ซึ่งได้ผลรวมของวิชานี้คือ 2(4.0)=8.0
  • วิทยาศาสตร์ ให้น้ำหนัก 2.5 แสดงว่ามีวิทย์ 2.5 ตัว ได้ผลรวม (2.5)(3.5)=8.75
  • ศิลปะ ให้น้ำหนัก 1 งั้นก็มีศิลปะแค่ตัวเดียว ได้ผลรวมเป็น 1(4.0)=4.0
จากด้านบนเราจะสามารถหาผลรวมได้แล้ว แต่ตอนนี้ปัญหาคือเราจะเอาผลรวมที่ได้หารด้วยอะไร
ในเมื่อเราบอกว่าจำนวนตัวของแต่ละวิชาคือน้ำหนักที่ให้ 
ดังนั้นตัวหารจะไม่ใช่ 4 แต่ต้องเป็นผลรวมของน้ำหนักทั้งหมดแทน
จะได้
เกรดเฉลี่ย=(2.5)(3.0)+2(4.0)+(2.5)(3.5)+1(4.0)2.5+2+2.5+1=7.5+8.0+8.75+4.08=28.228=3.53
เกรดเฉลี่ย คือ 3.53 
กำหนดให้ข้อมูลคือ x1,x2,x3,,xn โดยที่แต่ละตัวมีน้ำหนักคือ w1,w2,w3,,wn ตามลำดับ จะได้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต=x1w1+x2w2+x3w3++xnwnw1+w2+w3++wn

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม ใช้ในการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลมากกว่าหนึ่งชุด โดยที่ข้อมูลที่เรารู้คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลแต่ละชุด และจำนวนข้อมูลในแต่ละชุด
กำหนดให้ x1¯,x2¯,x3¯,,xk¯ เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดที่ 1,2,3,,k ตามลำดับ และจำนวนข้อมูลในแต่ละชุดคือ n1,n2,n3,,nk ตามลำดับ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม=x1¯n1+x2¯n2+x3¯n3++xk¯nkn1+n2+n3++nk

หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม

นักเรียนห้องหนึ่ง มีนักเรียนหญิง 23 คน นักเรียนชาย 32 คน จากข้อมูลความสูงจะได้ว่า ความสูงเฉลี่ยของนักเรียนหญิงคือ 159.8เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยของนักเรียนชายคือ 165.3 จงหาความสูงเฉลี่ยของนักเรียนห้องนี้
จากโจทย์จะได้ว่ามีข้อมูล 2 ชุด
ชุดที่ 1 คือข้อมูลของนักเรียนหญิง จะได้ x1¯=159.8 และ n1=23
ชุดที่ 2 คือข้อมูลของนักเรียนชาย จะได้ x2¯=165.3 และ n2=32
จากข้อมูลทั้ง 2 ชุดจะได้

ความสูงเฉลี่ย=159.823+165.33223+32=3675.4+5289.655=896555=163
ความสูงเฉลี่ยของนักเรียนห้องนี้คือ 163 เซนติเมตร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น