วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

หลักการเขียนโครงงานคณิตศาสตร์


โครงงานคณิตศาสตร์หมายถึง

กิจกรรมนอกหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ตามความถนัดและความสนใจ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อาจทำเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เป็นการฝึกปฏิบัติงานที่นักเรียนหาข้อสงสัย ตั้งสมมติฐาน ทดลองและสืบสวน แล้วรวบรวมหาข้อสรุป แล้วจัดทำรายงาน และแสดงผลงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ จากการทำโครงงาน ได้รับคำแนะนำดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิ อาจจัดทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้
หลักการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้
2. เป็นการเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อฝึกการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์
3. ให้เสรีภาพแก่ผู้ทำโครงงานในเรื่องที่จะทำ โดยคำนึงถึงเงินทุนที่มีอยู่ด้วย
โครงงานคณิตศาสตร์อาจทำได้หลายรูปแบบดังนี้
1. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภททดลอง (Experimental Research Project) โครงงานนี้เป็น
การศึกษาหาคำตอบของปัญหาโดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ขั้นตอนการทำงานประกอบไปด้วยการกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง ซึ่งจะต้องมีการควบคุมตัวแปรต่างๆ การแปลผลและการสรุปผลการทดลอง
2. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสำรวจ (Survey Research Project) โครงงานประเภทนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ โดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆ นำข้อมุลมาจัดและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม
3. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทพัฒนาหรือประดิษฐ์ (Development Research Project) โครงงานประเภทนี้เป็นการพัฒนาหรือประดิษฐ์เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ จะเป็นการปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม หรือเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งเป็นการเสนอหรือปรับแบบจำลองทางความคิดเพื่อ แก้ปัญหาปัญหาหนึ่ง
4. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย (Theortied Research Project) โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ผู้ทำจะต้องเสนอความคิดใหม่ๆ ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล มีหลักการทางคณิตศาสตร์หรือทฤษฎีสนับสนุน หรือเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ในแนวใหม่ เสนอในรูปคำอธิบาย สูตร สมการ โดยมีทฤษฎีข้อมูลอื่นสนับสนุน การทำโครงงานประเภทนี้ผู้ทำจะต้องมีพื้นความรู้ ทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสร้างคำอธิบายหรือทฤษฎีได้
ขั้นตอนการทำโครงงานคณิตศาสตร์มีดังนี้
1. การกำหนดจุดประสงค์ ก่อนทำโครงงานต้องกำหนดจุดประสงค์ก่อนว่า ต้องการอะไรจากโครงงานนั้น
2. การเลือกหัวข้อหรือปัญหาที่จะศึกษา ควรให้นักเรียนเป็นผู้คิดและเลือกด้วยตนเอง โดยคำนึงถึง ระดับความรู้ อุปกรณ์ งบประมาณ ระยะเวลา อาจารย์ที่ปรึกษา ความปลอดภัย และเอกสารอ้างอิง
3. การวางแผนในการทำโครงงาน คือการกำหนดขอบเขตของงาน ว่าจะให้กว้างหรือแคบเพียงใด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนเค้าโครงของงานก่อน เพื่อวางแผนการทำงาน
3.1 ชื่อโครงงาน
3.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
3.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
3.4 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน อธิบายว่าทำไมจึงเลือกโครงงานนี้
3.5 จุดมุ่งหมายของโครงงาน
3.6 สมมติฐานทางการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
3.7 วิธีดำเนินงาน
3.7.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
3.7.2 แนวการศึกษาค้นคว้า
3.8 แผนการปฏิบัติงาน อธิบายเกี่ยวกับระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มจนจบโครงงานในแต่ละขั้นตอน
3.9 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
3.10 เอกสารอ้างอิง
4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อโครงสร้างและเค้าโครงงานผ่านการเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญแล้ว นักเรียนก็เริ่มลงมือทำตามแผนงาน ในแต่ละช่วงต้องมีการประเมินการทำงานเป็นระยะๆ เพื่อช่วยกันปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานด้วย
5. การเขียนรายงาน เป็นการเสนอผลงานของการศึกษาค้นคว้าเป็นเอกสาร เพื่อให้ผู้อื่นทราบปัญหาที่ศึกษา วิธีดำเนินการศึกษา ข้อมูลที่ได้ ประโยชน์ที่ได้จากโครงงานที่ทำ ควรเขียนในรูปแบบฟอร์ม
6. การแสดงผลงาน เป็นการเสนอผลงานต่างๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา เพื่อให้คนอื่นได้รับรู้และเข้าถึงโครงงาน ซึ่งอาจเป็นตาราง แผนภูมิแท่ง กราฟวงกลม กราฟ สร้างแบบจำลอง ควรเลือกนำเสนอให้เหมาะสมกับโครงงานนั้นๆ

ตัวอย่างโครงร่างโครงงาน ชิ้นงานนักเรียน ชั้น ม.1-3

รายงานโครงงานคณิตศาสตร์ GSP เรื่องสวนหย่อมผ่อนใจ

โครงงานคณิตศาสตร์ GSP เรื่อง รถบนสะพาน

โครงงานแก้โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทปีทาโกรัส

รายงานGSP กลุ่ม สวนหย่อมผ่อนใจ

 ตัวอย่างโครงงาน เต็มรูปแบบ ชิ้นงานนักเรียน ชั้น ม.1-3

โครงงานเรื่องสามเหลี่ยมเตือนภัย

           บทที่1

           บทที่2

           บทที่ 3

           บทที่ 4

           บทที่ 5


โครงงานเรื่องสวนถาดฉลาดคิด

          บทที่1

          บทที่2

          บทที่ 3

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กิจกรรมการเรียนการสอนโครงงานหน้าเดียว โดยระบบ Social Media
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1.โครงงานคืออะไร
ก. การเรียนรู้โดยไม่มีการวางแผน
ข. การเรียนรู้โดยไม่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ค. กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาสิ่งที่สนใจอย่างลึกซึ้ง
ง. สิ่งที่ถูกบังคับ กำหนดให้ศึกษา
2. ข้อใดคือลักษณะของโครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลอง
ก. เพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
ข. เพื่อประยุกต์กับรายวิชา
ค. ไม่นำทักษะทางวิทยาศาสตร์มาใช้
ง. เพื่อนำมาประกอบอาชีพ
3. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการทำโครงงาน
ก. เพื่อให้ผู้เรียนรู้รักสามัคคี
ข. เพื่อให้ผู้เรียนรู้ถึงความเป็นไทย
ค. เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ง. เพื่อให้ผู้เรียนได้ผลประโยชน์จากกิจกรรม
4.ในการสรุปผลการทดลอง จะต้องยึดสิ่งใดเป็นหลัก
ก. ตัวแปร
ข. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ค. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ง. วัตถุประสงค์
5.การจัดการเรียนการาสอนแบบโครงงานมุ้งเน้นด้านใด ถูกที่สุด
ก. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
ข. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนหาเลี้ยงชีพเพียงลำพัง
ค. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเอาสิ่งที่ได้มาไปหารายได้
ง. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามัคคี
6. ข้อใดเป็นหลักการที่สำคัญของกิจกรรมโครงงาน
ก. เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้เบื้องต้น
ข. หาเพื่อนแท้
ค. สามารถช่วยตัวเองได้ จากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่
ง. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
7. ประเภทของโครงงานแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 5 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 2 ประเภท
8. โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์คิดค้น เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์อะไร
ก. มุ่งเน้นให้เรียนรู้ในเรื่องที่ได้กำหนดมา
ข. เน้นให้ผู้เรียนอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบ
ค. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้มาใช้ ได้โดยเกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง
ง. เน้นการนำความรู้ทฤษฎีใหม่ หลักการ มาประยุกต์ใช้
9. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน มีลักษณะเช่นใด
ก. มุ่งเน้นให้เรียนด้านเดียว
ข. เป็นการจัดประสบการณ์ในการปฎิบัติงานให้แก่เด็ก
ค. สร้างมนุษย์สัมพันธ์
ง. ไม่ช่วยในการฝึกฝนทักษะต่างๆ
10. ข้อใดคือ โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
ก. สารระงับกลิ่นจากพืช
ข. ยากันยุงจากตะไคร้
ค. การผลิตยาหม่องจากสมุนไพร
ง.การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
11. ข้อมูลที่ได้จากการทดลองที่มีการควบคุมจะมีประโยชน์ในการตัดสินใจอย่างไร
ก. สมมติฐานนั้นถูกต้องหรือไม่
ข. ทฤษฎีที่กำหนดนั้นถูกต้องหรือไม่
ค. ปัญหาที่คิดขึ้นถูกต้องเพียงใด
ง. ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นใช้ได้เพียงใด
12. หัวข้อเรื่องที่ดี ควรได้มาโดยวิธีใด
ก. การอ่านหนังสือ
ข. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
ค. การสนทนากับผู้รู้
ง. ปัญหาที่พบโดยบังเอิญ
13. ข้อใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงาน
ก. เลือกเรื่องหรือปัญหา
ข. ศึกษาแหล่งข้อมูล
ค. จัดนิทรรศการ นำเสนอผลงาน
ง. ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
14. โครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล คือโครงงานประเภทใด
ก. ประเภทสำรวจ
ข. ประเภททดลอง
ค. ประเภททฤษฎี
ง. ประเภทประดิษฐ์คิดค้น
15. วัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการ นำเสนอผลงานคือข้อใด
ก. เพื่อเผยแพร่ความภูมิใจระหว่างกัน
ข. สร้างทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของชิ้นงาน
ค. แสดงผลงาน ขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ชิ้นงาน
ง. ถูกทุกข้อ
16. ข้อใดเป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์
ก. กระเป๋าจากผักตบชวา
ข. การผลิตน้ำยาล้างจาน
ค. การปลูกผักสวนครัว
ง. การทำยากันยุงจากต้นตะไคร้หอม
17. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงงาน
ก. ส่งเสริมให้เด็กฝึกฝนและตัดสินใจด้วยตนเอง
ข. ครูเป็นผู้ถ่ายทอดหรือกำหนดกิจกรรมให้ทำ
ค. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นนักวางแผน แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
ง. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญทุกรายวิชา
18. ถ้านักเรียนเลือกทำโครงงาน จะมีวิธีการเลือกอย่างไร
ก. เลือกตามเพื่อนบอก
ข. เลือกตามความถนัดและสนใจ
ค. เลือกตามครูบอก
ง. เลือกตามสมัยนิยมและความสะดวก
19. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการทำโครงงาน
ก. เลือกเรื่องหรือปัญหา
ข. สร้างองค์ความรู้
ค. ศึกษาแหล่งข้อมูล
ง. ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
20. ประโยชน์ของโครงงานต่อนักเรียนคือข้อใด
ก. สร้างประสบการณ์จริง
ข. ศึกษาตามความถนัดความสนใจของตนเอง
ค. เกิดความภาคภูมิใจตนเองและกลุ่มงานได้
ง. ถูกทุกข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น