วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
พระราชดำรัสด้านการศึกษา
แนวพระราชดำริด้านการศึกษา
ตลอดระยะเวลากว่า ๖๕ ปี
ของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย
ในการศึกษาของพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง
ทรงมีพระราชปณิธานที่จะให้การ
ศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและ
มีคุณภาพ ทรงเห็นว่าการศึกษา
มีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิต
ความเป็นอยู่ของประชาชนและต่อ
การพัฒนาประเทศ
แนวพระราชดำริด้านการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
๒.๑ ทรงสนับสนุนให้ประชาชน
ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงในทุกระดับ พระองค์
มีแนวพระราชดำริให้วางรากฐานความรู้และการศึกษา
อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างคน
ให้มาพัฒนาประเทศต่อไป โดย “สร้างโอกาสให้
ประชาชนได้รับความรู้” ในทุกระดับของการศึกษา
ทั้งในระบบและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
นับตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล จนถึงระดับประเทศ
และทรง “สร้างรากฐานอย่างทั่วถึง” โดยพระราชทานพระราชดำริให้ราษฎรที่ด้อยโอกาส ไม่ได้รับการศึกษา
ในโรงเรียน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ดังเห็นได้จากการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
หรือที่ดิน ในการจัดสร้างโรงเรียนต่างๆ อาทิ การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนชาวเขาและเยาวชนใน
ชนบทห่างไกล และพระราชทานนามโรงเรียนว่า“โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” นอกจากนี้ ทรงจัดตั้ง
“โรงเรียนร่มเกล้า” สำหรับเยาวชนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลหรือพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งในภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และทรงสนับสนุนให้จัดตั้ง “โรงเรียนราชประชาสมาสัย”
เพื่อเป็นสถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนที่เป็นบุตรธิดาของคนไข้โรคเรื้อน ซึ่งมิได้ติดโรคจากบิดา
มารดา โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนในวัดหลายแห่ง อาทิ ในจังหวัดสมุทรปราการ ราชบุรี นครพนม
และน่าน โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต และโรงเรียนราชวินิตมัธยม สำหรับบุตรข้าราชบริพาร
ในพระราชวังและประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นโรงเรียนพระราชทาน
สาธิตแห่งแรกของกรุงเทพฯ
102
ตลอดจนทรงรับโรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
รวมทั้งทรงริเริ่มให้มีสถาบันเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหาร อันเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศ
โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ
NIDA
๒.๒ พระราชทานทุนการศึกษาในทุกระดับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
พระกรุณาพระราชทานทุนการศึกษาและรางวัล
ต่างๆ ทุกระดับการศึกษา เช่น ทุนการศึกษาในมูลนิธิ
ช่วยนักเรียนขาดแคลน ทุนการศึกษาแก่นักเรียน
ชาวเขา รางวัลแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น
ระดับประถมและมัธยมศึกษาทั้งประเทศ ทุนมูลนิธิ
ราชประชานุเคราะห์เพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ประสบ
สาธารณภัย ทรงส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทุกประเภท ทรงพระกรุณาฟื้นฟู
ทุนเล่าเรียนหลวงและทรงก่อตั้งทุนภูมิพล และทุนอานันทมหิดล ส่งเยาวชนไปศึกษาวิทยาการระดับสูง
สาขาต่างๆ ในต่างประเทศ
๒.๓ จัดทำโครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่สำคัญแก่เยาวชน ได้แก่ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยทรงมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหนังสือความรู้
ที่เหมาะแก่เด็กในวัยต่างๆ รวมทั้งผู้ใหญ่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้
โดยพระองค์ทรงกำหนดหลักการทำคำอธิบาย
เรื่องต่างๆ แต่ละเรื่องเป็นสามตอนหรือสามระดับ สำหรับให้เด็ก
รุ่นเล็กอ่านเข้าใจระดับหนึ่ง สำหรับเด็กรุ่นกลางอ่านเข้าใจได้
ระดับหนึ่ง และสำหรับเด็กรุ่นใหญ่ รวมถึงผู้ใหญ่ผู้สนใจอ่านได้
อีกระดับหนึ่ง เพื่ออำนวยโอกาสให้บิดามารดาสามารถใช้หนังสือนั้น
เป็นเครื่องมือแนะนำวิชาแก่บุตรธิดา และให้พี่แนะนำวิชาแก่น้อง
เป็นลำดับกันลงไป นอกจากนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดมีความเกี่ยวพัน
ต่อเนื่องถึงเรื่องอื่นๆ ก็ให้อ้างอิงถึงเรื่องนั้นๆ ด้วยทุกเรื่องไป ด้วยประสงค์
จะให้ผู้ศึกษาทราบและตระหนักว่าวิชาการแต่ละสาขามีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงกัน ควรศึกษา
ให้ครบถ้วนทั่วถึง
๒.๔ พระราชทานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริด้วยว่าราษฎรในชนบทโดยเฉพาะ
ในท้องที่ทุรกันดารควรได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับความเป็นอยู่
103
ให้สามารถอยู่ได้โดยการ “พึ่งตนเอง” ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยพระราชทานโครงการต่างๆ เพื่อให้
เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถิ่นชนบทให้ช่วยตัวเองได้
๒.๕ สร้างศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ให้ราษฎรเรียนรู้
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี
“ตัวอย่างของความสำเร็จ” ในเรื่องการพึ่งตนเอง มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาส
ได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง ดังนั้น พระองค์จึงพระราชทาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาจำนวน ๖ ศูนย์ กระจายอยู่ในภาคต่างๆ ตามสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาสรรพวิชา ค้นคว้า ทดลอง สาธิตและดูงานทั้งของส่วนราชการและประชาชน
ทุกสิ่งทุกอย่างจัดไว้ให้ผู้เข้ามาศึกษาดูได้ในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” แล้วนำไปเป็น
แนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสม
๒.๖ ทรงสอนให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
ทรงตระหนักดีว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศ
เกษตรกรรมโดยพื้นฐาน ประชาชนที่ประกอบอาชีพการเกษตร
ต้องอาศัยธรรมชาติในการทำมาหากิน จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์
จากธรรมชาติให้มากที่สุด และไม่ทำลายธรรมชาติ ทรงมุ่งเน้น
ให้ประชาชนชาวไทยอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างสันติ ไม่เบียดเบียนหรือก่อปัญหาให้เกิดขึ้น
กับสภาวะแวดล้อม แนวพระราชดำริที่พระราชทานดังกล่าว คือ การให้การศึกษาแก่เกษตรกรให้มีการทำ
การเกษตรอย่างยั่งยืน
๒.๗ พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” เพื่อเกษตรกร
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับเกษตรกรได้แก่ “ทฤษฎีใหม่” ว่าด้วยการบริหาร
จัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การปฏิบัติตาม
ทฤษฎีใหม่นี้ เกษตรกรจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้
ในขั้นแรก และสามารถพัฒนาไปขั้นที่สอง เป็น
การรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ในการขาย
ผลผลิตและเมื่อผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว ก็สามารถพัฒนา
ไปขั้นที่สาม เพื่อหาทุนหรือแหล่งเงินมาช่วยในการลงทุน
และพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “ครูแห่งแผ่นดิน”
โดยวิธีการสอนของพระองค์ คือ “ทรงทำให้ดู” ซึ่งรับสั่งอยู่เสมอว่า “ทำให้เขาดู” ดังจะเห็นว่า
104
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ จะทรงทดลอง
ทดสอบ แล้วจึงแสดงให้ดูเพื่อชักจูงให้ประชาชนสนใจ
อันเป็นลักษณะประชาธิปไตย และทรงมีความเป็นครูมาก
โดยจะพระราชทานคำอธิบายที่มีแง่มุมต่างๆ อย่างละเอียด
ทั้งนี้ จะทรงใช้ “อุบาย” เป็นการสอนแบบ
ทางอ้อม เช่น บางสถานการณ์ที่เร่งด่วนและอาจมีภัย
ถึงประชาชน พระองค์จะทรงไต่ถามสถานการณ์ขณะนั้นว่า
เป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้สึกและเข้าใจว่า ต้องรีบดำเนินการโดยทันที จะรอเวลาราชการไม่ได้
เพราะความทุกข์ยากของประชาชนไม่มีวันหยุด
นอกจากนี้ ทรงตระหนักว่า การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชนและการพัฒนาประเทศ และทรงถือว่า “การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตมนุษย์”
ดังกระแสพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทซึ่งได้พระราชทานไว้ ณ โอกาสต่างๆ ที่อัญเชิญมาบางตอน
ความว่า
“...การพัฒนาให้ประชาชนทั่วไป มีความอยู่ดีกินดี มีความมั่นคงด้วยการ
ให้การศึกษา การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ ให้เป็น
ทรัพยากรทางปัญญาที่มีค่าของชาติ...”
“...งานด้านการศึกษา เป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญ
และความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมือง เป็นข้อใหญ่...”
พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการศึกษาดังกล่าวแล้วนี้
ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตพสกนิกรของพระองค์ เพื่อสามารถมีการศึกษาเรียนรู้
ในการประกอบอาชีพ มีรายได้พอเพียงเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญ
ในการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป และประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความผาสุกภายใต้ร่ม
พระบารมีตลอดไป
ทั้งนี้ สำนักงานฯ ขอนำเสนอการดำเนินงานของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
และมูลนิธิพระดาบส ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านการศึกษา
ตามแนวพระราชดำริ โดยสำนักงานฯได้รับเกียรติจากนายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการ
พระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
ที่ได้กรุณาให้สัมภาษณ์ถึงความเป็นมาและการน้อมนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติผ่านมูลนิธิ
ดังกล่าวดังนี้
105
บทสัมภาษณ์ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย
รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้น
ที่โรงเรียนไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดำเนิน “โครงการศึกษาทางไกล
ผ่านดาวเทียม” โดยเป็นแม่ข่ายการถ่ายทอดระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ส่งสัญญาณออกอากาศแพร่ภาพ
ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในเครือข่ายทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เสริมสร้าง
ประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ขยายไปสู่ชนบทห่างไกล ซึ่งไม่มีใครคิดทำมาก่อนแล้ว ยังเป็นการสร้าง
โอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน ระหว่างโรงเรียนชนบทท้องถิ่นทุรกันดาร
และโรงเรียนในเมือง รวมทั้งช่วยให้ประชาชนได้นำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจน
บรรเทาปัญหาของโรงเรียนในจังหวัดห่างไกลและโรงเรียนในชนบทที่ขาดแคลนครูสอนวิชาเฉพาะหรือ
สอนวิชาสามัญ โดยพระองค์ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” เพื่อบริหาร
106
จัดการและดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันมีโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนครูได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่ง
ปัจจุบันโรงเรียนที่จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีจำนวนกว่า ๒๔,๐๐๐ โรงเรียน
ซึ่งรวมถึงโรงเรียนปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเปิดสอนวิชาสามัญตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
ถึงมัธยมศึกษา โครงการนี้ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ได้ถ่ายทอดไปยังโรงเรียน
และมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ได้แก่ ลาว พม่า เวียดนาม จีน สิงคโปร์ กัมพูชา และวัดไทย ๑๕ แห่ง
ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สอนภาษาไทย พุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทยให้กับคนมาเลย์เชื้อสาย
ไทยด้วย
“ครูตู้” คุณครูพระราชทานผ่านดาวเทียม
ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมา มูลนิธิ
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้จัดการศึกษา
โดยการถ่ายทอดการเรียนการสอนหลักสูตร
ขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเป็น
โรงเรียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้น
การรับฟังการเรียนการสอนจากโรงเรียนนี้เท่ากับ
ได้รับฟังการเรียนการสอนที่พระราชทานจาก
โรงเรียนของพระองค์ท่านในรูปแบบ “ถ่ายทอดสด
๑ ช่อง ๑ ชั้น” สอนโดยครูคนเดียวกัน วิชาเดียวกัน เวลาเดียวกัน คุณภาพมาตรฐานเช่นเดียวกัน
กับนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ ที่ขาดแคลนครูโดยเฉพาะ
ครูประจำวิชา สามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้เท่าเทียมกัน อีกทั้งช่วยให้เด็กนักเรียน
ในต่างจังหวัดผู้ด้อยโอกาสและยากจนรู้สึกว่าตนมิได้ถูกทอดทิ้ง แต่ได้รับพระราชทานการศึกษา ผ่าน
“ครูตู้” หรือเครื่องรับโทรทัศน์ ถ่ายทอดการเรียนการสอนสู่ห้องเรียนแต่ละห้อง แต่ละชั้นเรียน
ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยแต่ละโรงเรียนติดตั้งจานดาวเทียมเพียงจานเดียว และติดตั้งเครื่อง
รับสัญญาณ (IRD) จำนวนเท่ากับจำนวนห้องเรียนเท่านั้น ก็สามารถรับสัญญาณได้
“ศึกษาทัศน์” รายการพระราชทาน... ค้นหาความรู้จากพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากหลักสูตรขั้นพื้นฐานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรายการ
“ศึกษาทัศน์” หรือ Quest for Knowledge เป็นรายการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนและครู
โรงเรียนวังไกลกังวล เดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ศึกษาหาความรู้จากพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในเรื่องภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว และศิลปะแขนงต่างๆ โดยพระราชทานให้มีการ
107
บันทึกเทปการเรียนการสอน อาทิ การดูแลปรับปรุง
คุณภาพดินในโครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่า กิจการ
ฝนหลวง โดยทรงหยิบยกประสมประสานเรื่องราว
ต่างๆ ที่มีแง่คิดชวนติดตาม ทรงแสดงแผนภูมิที่ทรง
วาดและภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เป็นสื่อการสอน ซึ่ง
แสดงถึงพระปรีชาสามารถในศาสตร์แขนงต่างๆ
นับว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ทรง
สอนนักเรียนในลักษณะเช่นนี้
มูลนิธิฯ มอบอุปกรณ์ และจัดการเรียนการสอน
สำหรับวิธีดำเนินงาน มูลนิธิฯ จะจัดสรรอุปกรณ์รับสัญญาณ
ดาวเทียมให้แก่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั่วประเทศ และ
ดำเนินการซ่อมแซมและจัดสรรให้ใหม่ในกรณีชำรุดหรือ
เสื่อมคุณภาพ ตลอดจนจัดสรรกล้อง Video Conference เพื่อ
การศึกษาสื่อสาร ๒ ทาง รวมทั้งส่งสัญญาณการเรียนการสอน
ให้แก่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทุกแห่ง
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ
NECTEC นำเทปที่บันทึกการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวล มาปรับปรุงและจัดทำในรูปแบบ
e-Learning ตามโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำ
เทปการสอนทุกกลุ่มสาระส่งกลับไปให้ครูประจำวิชาที่โรงเรียนวังไกลกังวลตรวจสอบความถูกต้อง
ก่อนจะนำเข้าระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อเผยแพร่ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ร่วมโครงการ
เพื่อการสอนเสริมด้วยอินเทอร์เน็ตนอกเวลาเรียน โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจะจัดสรร
คอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้แก่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทุกแห่ง
พัฒนาการศึกษาทางไกล... สู่ความเป็นสากล
มูลนิธิฯ ได้พัฒนาจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตตามโครงการ DLF e-School โดยจัดการเรียนการสอน
ทุกชั้นเรียนด้วยระบบ e-Learning ที่ www.dlf.ac.th ซึ่งสามารถ
เลือกเข้าชมได้ทั้งการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) เช่นเดียวกับ
ที่ออกอากาศทางโทรทัศนในช่วงเปิดภาคการศึกษา หรือเลือกชม
รายการย้อนหลัง (On Demand) ได้ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการต่างประเทศและ
วัดไทยในต่างประเทศ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางไกลขึ้น ๔ แห่ง ได้แก่ วัดป่าธรรมชาติ นครลอสแอนเจลิส
108
และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา วัดศรีนครินทร
วราราม ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และวัดไทยธรรมประทีป ประเทศฝรั่งเศส
เพื่อจัดการศึกษาทางไกลให้ลูกหลานไทยในต่างประเทศ และชาว
ต่างประเทศที่สนใจสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยได้ตามอัธยาศัย
โดยสามารถรับชมได้ที่ www.dlfeschool.in.th ซึ่งเป็นการสอน
นอกระบบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
และตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ มหาวิทยาลัยโอเรกอน เมืองยูจีน สหรัฐอเมริกา ได้จัดโครงการอบรมครู
สอนภาษาอังกฤษให้โรงเรียนทั่วประเทศไทย ด้วยระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)
ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุน
เทคโนโลยีที่ธรรมดาแบบไม่ธรรมดา... เรียบง่าย ได้ผล และประหยัด
เมื่อปี ๒๕๔๙ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งสหประชาชาติ หรือ เอสแคป ได้จัด
ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับผู้ทรงคุณวุฒิในภูมิภาค
จากนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ
ประเทศจีน อินเดีย อิหร่าน มาเลเซีย เนปาล
ปากีสถาน เกาหลี และไทย เพื่อเตรียมข้อเสนอแนะ
สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีในภูมิภาคเอเชีย
และแปซิฟิก ว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีอวกาศ
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรากฏว่ารายงานผลการประชุมดังกล่าว ได้ชื่นชมมูลนิธิฯ ว่า ความร่วมมือจาก
หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ล้วนเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการศึกษาทางไกลสัมฤทธิผลเป็นที่พิสูจน์ได้
สมควรเป็นแบบอย่างของความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาทางไกลในภูมิภาค ตลอดจนการรู้จัก
เลือกใช้ “เทคโนโลยีที่ธรรมดาแบบไม่ธรรมดา” เป็นเทคโนโลยีที่เรียบง่าย แต่ได้ผลและประหยัด
เป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญระดับผู้ทรงคุณวุฒิมีความประทับใจ ไม่ว่าเป็นลักษณะการจัดการห้องเรียนต้นทาง
ที่ประหยัด หรือการสื่อสาร ๒ ทางด้วยระบบ TV Conference ในลักษณะ ๒ Way Audio, ๑ Way Visual
ที่ปลายทางเห็นภาพและได้ยินเสียงต้นทาง ส่วนต้นทางไม่เห็นภาพ แต่ได้ยินเสียงปลายทาง สามารถ
โต้ตอบกันได้โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่า ต้นทางไม่จำเป็นต้องเห็นปลายทาง ๔ ล้านคน เนื่องจาก
ไม่สมเหตุผลและไม่คุ้มค่า
เรียนผ่าน “ครูตู้” ผลสัมฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจากการเรียนกับระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ “ครูตู้”
เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง และมีสถิติสูงขึ้นทุกปี โดยนักเรียนในโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
109
ที่ได้เกรดเฉลี่ย ๓.๕ ขึ้นไป มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
จะสนับสนุนทุนการศึกษา ให้ได้รับการศึกษาต่อ
ในระดับปริญญาตรี โดยขณะนี้มีนักเรียนที่จบจาก
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั่วประเทศด้วยระบบ
ทางไกลผ่านดาวเทียมจากทุกภาคของประเทศ
จำนวน ๖๘๔ คน สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดม
ศึกษาและประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก
อาทิ มีผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปี ๒๕๔๔
และ ๒๕๔๕ โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
จำนวนปีละ ๔ คน ในปี ๒๕๔๖ จำนวน ๕ คน ปี ๒๕๔๗ จำนวน ๑๒ คน ปี ๒๕๔๘ จำนวน ๒๔ คน
ปี ๒๕๔๙ จำนวน ๒๒ คน และปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒๕ คน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี
นอกจากนี้ มีนักเรียนที่เรียนจบจาก “ครูตู้” และเรียนจบถึงระดับปริญญาโท หรือได้รับทุนพระราชทาน
เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา มีความสามารถจนได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหาทางกฎหมาย
โดยการแถลงด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ ร่วมกับ ๒๐ มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ชาวเขาเผ่าลีซอก็สามารถ
ประสบความสำเร็จ โดยศึกษาต่อในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือนักเรียน
ในโรงเรียนปอเนาะ ที่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ประมาณ ๑๐๐ คน สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ได้ถึง ๗๐ คน
สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่าการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ “ครูตู้” ไม่ได้ด้อยกว่าการเรียน
ในชั้นเรียนปกติ อีกทั้งการเรียนจากโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่วยฝึกฝนให้เด็กนักเรียนรู้จัก “รักดี รักเรียน”
ตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง พึ่งตนเอง
สามารถจับใจความ ย่อความ เก็บสาระของบทเรียน และ
ติดตามเรื่องราวได้ และจากการที่ทางโรงเรียนวังไกลกังวล
ได้กำหนดวิชาชีพให้เป็นวิชาเลือก เช่น การโรงแรม
ช่างกล ฯลฯ ช่วยให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖
สามารถช่วยตนเองได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องเป็นภาระกับผู้ปกครอง
และสังคม
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการส่งเสริมนักเรียนให้รักความเป็นไทย
ซึ่งเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วง คือ กิริยามารยาท จริยธรรม คุณธรรม มิใช่การเรียนหนังสือ
เพียงอย่างเดียว แต่นักเรียนควรรู้จักช่วยเหลือตนเองและสังคม มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จัก
กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยเน้นให้นักเรียนรู้ทันเทคโนโลยีและเรียนรู้ความเป็นไทยควบคู่ไปด้วย
จึงจะสามารถเติบโตเป็นคนไทยที่สมบูรณ์แบบ ช่วยพัฒนาประเทศชาติได้ต่อไป
110
บทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี และเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
ตั้งมูลนิธิพระดาบส... สร้างอาชีพ... พัฒนาผู้ด้อยโอกาส
ในการพัฒนาคนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการมองคนไทยว่า
จะทำอย่างไรให้ราษฎรของพระองค์พ้นทุกข์ มีความสุข สามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ได้มี
พระราชดำริตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่เรียนเก่งที่สุดไปศึกษาวิชาการที่ดี
ที่สุดของโลก ได้แก่ วิชาการแพทย์ และสาขาอื่นๆ ในระยะต่อมา เพื่อกลับมารับใช้ประเทศชาติ ส่วนกลุ่ม
ที่พ้นวัยเรียนแล้ว แต่ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีสัมมาอาชีวะอะไร ทรงรับสั่งว่า น่าจะให้ได้รับการฝึกวิชาช่าง
สักสาขาหนึ่ง เพื่อจะได้ช่วยตนเองและครอบครัว เมื่อสามารถช่วยครอบครัวได้แล้วก็จะเป็นกำลังในการ
ช่วยสังคม เด็กกลุ่มนี้สู้ชีวิตด้วยตนเองด้วยความยากลำบาก อาจจะทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งามให้กับสังคม
พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนชีวิตของคนเหล่านั้นให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของโรงเรียนพระดาบส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้โรงเรียนพระดาบสรับนักเรียนรุ่นแรก
ในปี ๒๕๑๘ จำนวน ๖ คน เพื่อเรียนช่างวิทยุ ซึ่งสำเร็จการศึกษาในปี ๒๕๑๙ โดย พลตำรวจตรี สุชาติ
เผือกสกนธ์ เป็นผู้รับสนองพระราชดำริ ซึ่งขณะนั้น ท่านเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เนื่องจาก
สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญในงานช่างต่างๆ จึงได้ขอที่ไร่กว่าๆ จาก
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณตรงข้ามหอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ ตั้งโรงเรียนพระดาบสขึ้น
111
ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์รองประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ และ
พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ เป็นประธานกรรมการ
เหตุใดใช้ชื่อ “พระดาบส”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานนามโรงเรียนว่า “พระดาบส” โดย
ทรงเปรียบเทียบกับเรื่องจันทโครพ ที่เข้าไป
เรียนรู้กับพระฤาษีในป่า เข้ามาอยู่มากินเรียนวิชา
กับพระดาบส เพราะผูกพันกัน ไม่ใช่สอนเฉพาะ
วิชาช่าง แต่ให้วิชาความดีด้วย เมื่อออกไปแล้ว
จะได้เป็นคนดี วิชาระเบียบวินัย โทษของอบายมุข
ถ้าสามารถเรียนจนจบ เรามั่นใจว่าศิษย์พระดาบส
จะเป็นคนดี แต่ทุกปีก็จะมีคนปรับตัวไม่ได้ เช่น
อดบุหรี่หรือเหล้าไม่ได้ ถูกหักคะแนน ต้องออกไปประมาณปีละ ๕ - ๑๐ คน
โรงเรียนพระดาบสเปิดกว้างสำหรับผู้ด้อยโอกาส ที่มีความตั้งใจจริง
โรงเรียนพระดาบสเปิดให้การศึกษาโดย
ไม่จำกัดเพศ วัย ศาสนา ถิ่นฐานที่อยู่ หรือวุฒิของผู้ที่
จะเข้ามาเป็นศิษย์พระดาบสแต่อย่างใด เพียงอ่านออก
เขียนได้ก็เพียงพอ โรงเรียนจะมีการอบรมวิชาชีพควบคู่
ไปกับการอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้
ศิษย์พระดาบสสามารถดำเนินชีวิตในทางที่ชอบที่ควร
เป็นผู้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีความประพฤติ
เรียบร้อยเป็นพลเมืองดี เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์
ให้สังคมและประเทศชาติต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าต้องไม่สร้างเงื่อนไขในการรับเข้า เพราะถ้าสร้าง
เงื่อนไขมาก คนจนจะไม่มีสิทธิ์เข้ามาเรียนได้ ทรงรับสั่งว่าไม่ใช่มาเรียนเพราะพ่อแม่ให้มา แต่มาเพราะ
ตนเองต้องการจะเรียน เพราะเป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบ ตรงนี้คือเงื่อนไขหลักของเรา ปัจจุบันมีผู้สำเร็จ
การศึกษาจากโรงเรียนพระดาบส และออกไปประกอบอาชีพต่างๆ แล้วกว่า ๓,๐๐๐ คน
วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนพระดาบส ซึ่งรับสนองมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว มีเป้าหมายในการฝึกช่างฝีมือ และฝึกให้เป็นคนดี ศิษย์พระดาบสมีจุดเด่น คือ เป็นผู้มี
อุปนิสัยดีและมีความสามารถ มีความขยัน และรับผิดชอบต่องาน
112
เด็กที่มาเรียนมีพื้นฐานความรู้และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เราไม่จำกัดเรื่องความรู้
พื้นฐาน เพียงอ่านออกเขียนได้ก็รับมาสอนเสริม เด็กส่วนใหญ่จบมัธยมปีที่ ๓ หรือปีที่ ๖ แต่เนื่องจาก
ความยากจนและเกิดวิกฤตในชีวิตจึงสมัครเข้าเรียน ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุระหว่าง
๑๘-๓๕ ปี เคยรับอายุเกิน ๓๕ ปี ปรากฏว่าเรียนไม่ไหว ขณะนี้รับปีละ ๑๕๐ คน อยู่ประจำที่โรงเรียน
เราเคยรับนักเรียนแบบไป-กลับ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกินเหล้า สูบบุหรี่ ก็คิดว่าลงทุนให้อยู่
ประจำดีกว่า เพื่อสนองตามแนวพระราชดำริ
โครงการหลวงได้คัดเลือกเด็กชาวเขาให้เข้ามาเรียน
เป็นประจำ สำเร็จการศึกษาไปหลายรุ่นแล้ว หรือผู้ที่ประสบภัยสึนามิ
เราก็ไปรับมาเรียน เช่น รายหนึ่ง สามีกับลูกเสียชีวิต เหลือลูกคนเดียว
ฝากยายไว้ ตอนที่เราไปชวนมาเรียนยังอยู่ในสภาวะที่ไม่สมบูรณ์
ทำใจไม่ได้ ต้องให้จิตแพทย์ช่วยดูแลอยู่ประมาณ ๒ เดือน จึงสามารถ
ปรับตัวได้ และเรียนจบได้งานโรงแรมใกล้ๆ บ้าน และสามารถเลี้ยงดูลูกได้
อีกรายหนึ่งเป็นพี่น้องอยู่จังหวัดลพบุรี เป็นลูกทหารยศนายสิบ พ่อไปปฏิบัติราชการที่ ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ แล้วถูกฆ่าตาย เมื่อพ่อซึ่งมีสิทธิอยู่บ้านหลวงเสียชีวิตลง ทำให้ลูกไม่มีที่อยู่ มีนายทหารนำมา
ฝากเข้าเรียน ซึ่งจบการศึกษาและมีงานทำแล้ว
๑ ปี... กับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า
ขณะนี้โรงเรียนพระดาบส มีการสอน ๘ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิชาชีพช่างไฟฟ้าวิทยุโทรทัศน์
หลักสูตรวิชาชีพช่างยนต์ หลักสูตรช่างอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรวิชาชีพเกษตรพอเพียง หลักสูตรช่างซ่อม
บำรุง หลักสูตรเคหบริบาล หลักสูตรช่างไม้เครื่องเรือน และหลักสูตรช่างเชื่อม
สำหรับช่างยนต์นั้น เรามีโรงฝึกงานดูแลรถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องจักรกลเกษตร
ส่วนช่างไฟฟ้านักเรียนจะต้องสามารถแก้ไขระบบไฟฟ้าและเดินสายไฟได้ ช่างคอมพิวเตอร์ สามารถ
ซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ช่างซ่อมบำรุง ๒ กลุ่มสาขา เด็กที่เรียนจบแล้ว สามารถดูแลซ่อมบำรุง
ในหมู่บ้านจัดสรร บริษัทใหญ่ๆ โรงเรียนต่างๆ และหม้อน้ำในบริษัทใหญ่ๆ ส่วนสาขาช่างเชื่อมเริ่มเปิด
มาได้ ๒-๓ ปี แล้ว และได้ส่งนักเรียนไปฝึกในบริษัทญี่ปุ่น เมื่อกลับมาได้เป็นครูช่างเชื่อม ปรากฏว่าช่างเชื่อม
ของเราเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรใหม่คือช่างไม้เครื่องเรือน
ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริว่า
ช่างนี้นับวันจะหายาก และเป็นที่ต้องการ ดังนั้นจึงเปิดสอนเพื่อจะได้
ถ่ายทอดฝีมือต่อไป ศิษย์ของเรามีความสามารถในด้านช่างอย่าง
แท้จริง เคยชนะการประกวด และได้งานทำทุกคน
113
ติวเข้มความรู้เรื่องช่าง... เสริมการพัฒนาจิตใจ
ในช่วง ๑ ปี แบ่งการเรียนออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ คือ ๓ - ๔ เดือนแรก เรียนรู้ช่างพื้นฐานทุกสาขา
หมุนเวียนกันไปตามสถานีช่างต่างๆ ให้ได้รับความรู้ที่สามารถ
นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งถือว่าตรงนี้เป็นประโยชน์สำหรับชีวิต
สมมุติว่าเขาเป็นช่างซ่อมบำรุง ถ้าสุขภัณฑ์ในหมู่บ้านเสีย
ต้องซ่อมได้ สามารถเดินสายไฟได้ ซึ่งทำให้นายจ้างพอใจมาก
เด็กจะตระหนักได้ว่า วิชาช่างทุกสาขาเชื่อมโยงกัน ซึ่งควร
ให้ความสำคัญในการผลิตแรงงานสาขาช่างให้มาก เพื่อรองรับการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม ๘ เดือนที่เหลือ
จะศึกษาตามสาขาในหลักสูตร โดยระยะที่ ๒ ใน ๖ เดือนแรกจะเรียนทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องทดลอง
ส่วนระยะที่ ๓ คือ ๒ - ๓ เดือนสุดท้าย จะออกไปเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยการฝึกงานที่โรงงาน
หรือบริษัทต่างๆ
นอกจากนี้ ในช่วง ๔ เดือนแรก นักเรียนจะได้รับการปรับฐานความรู้ และพัฒนา
ในด้านจิตใจ โดยได้จัดให้มีการเรียนวิชาศีลธรรม จริยธรรม ในวันศุกร์และวันเสาร์ ส่วนวันอาทิตย์
ฝึกให้เป็นผู้มีจิตอาสา โดยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น ทำความสะอาดลานวัดใกล้ๆ อาทิ
วัดราชาธิวาส เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักคืนสู่สังคม ส่วนวันอื่นๆ ก็เรียนหนังสือตามปกติ
หากถามว่าทำไมลูกศิษย์พระดาบสจึงแตกต่างจากศิษย์จากสถาบันอื่น นายจ้างจะให้เหตุผลว่า
ศิษย์พระดาบสได้รับการกล่อมเกลาในเรื่องอุปนิสัย ทั้งในเวลาเรียนหนังสือ และขณะรับประทานอาหาร
ร่วมกัน ดาบสอาสาจะสอดใส่เรื่องวินัยและเรื่องพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ เพื่อสร้างจิตสำนึกว่า ความรู้ ประสบการณ์ และหลักปฏิบัติตนต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มา เนื่องจาก
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เด็กจะต้องรับทราบว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องประพฤติตนเป็นคนดี
และให้ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา เมื่อสำเร็จการศึกษา
จะได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมี
พระเมตตา ซึ่งช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์พระดาบสและครอบครัวเป็นอย่างมาก
จบแล้วพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานของประเทศ... พระราชทานทุนเรียนต่อ
หลักสูตรการเรียน ๘ สาขานี้ถือว่าเป็นสาขาที่ประเทศชาติต้องการ โดยเฉพาะในระดับ
ช่างฝีมือ ซึ่งคนไทยมีความสามารถด้านนี้มาก เมื่อเรียนจบหลักสูตรของโรงเรียนพระดาบสแล้ว ได้สนับสนุน
ให้ไปสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของกระทรวงแรงงาน เพื่อพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานของประเทศ
(Thailand Quality Qualification Standard) ซึ่งสอบได้ทุกคน โดยทุกปีได้พยายามส่งเสริมให้นักเรียน
ประมาณ ๑๕๐ คน ผ่านการทดสอบนี้
114
ทั้งนี้ นักเรียนของเราที่มาจากครอบครัวยากจน
ประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐ ได้มีโอกาสเข้าทำงานในบริษัทเอกชน และ
นักเรียนที่มีความตั้งใจและเรียนดีเป็นพิเศษ ร้อยละ ๓-๔ ได้รับ
การคัดเลือกจากคณะกรรมการให้ได้รับพระราชทานทุนการศึกษา
เพื่อเรียนต่อ ซึ่งสำเร็จการศึกษาแล้วหลายคน และบางส่วนได้กลับไป
ช่วยงานทางบ้าน
โครงการลูกพระดาบส และการขยายการเรียนการสอน
ได้มีการจัดตั้ง “โครงการลูกพระดาบส” ขึ้น
ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็น
ศูนย์กลางการเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีทาง
ด้านการเกษตรสมุนไพร การใช้พลังงานทดแทน
และอื่นๆ จัดการเรียนการสอนแก่ศิษย์พระดาบส
ในหลักสูตรการเกษตรพอเพียงซึ่งมีทั้งเกษตร ปศุสัตว์
ประมงน้ำกร่อย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เพาะเห็ด ปลูกผัก
ไฮโดรโปนิกส์ (แบบไร้ดิน) หลักสูตรเคหะบริบาล
สำหรับสตรี ซึ่งแยกเป็น ๒ ด้าน คือ การดูแลเด็กเล็กและดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตรนี้เริ่มมาประมาณ ๕ ปีแล้ว
ได้ผลดีมาก และหลักสูตรช่างไม้เครื่องเรือน นอกจากนี้ ยังรับประชาชนทั่วไปมาเรียนแบบเช้าไปเย็นกลับ
เพื่อฝึกอาชีพเสริม เมื่อจบแล้วจะมีอุปกรณ์ให้เพื่อนำไปประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งโครงการฝึกอาชีพจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางโรงเรียน
พระดาบส ที่จังหวัดยะลา โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เห็นว่าควรจะ
ให้โอกาสเด็กหนุ่มสาวชาวมุสลิม หรือชาวไทย-มุสลิม ได้รับการฝึกอาชีพ เพื่อสร้างงานและรายได้
โดยทางมูลนิธิพระดาบสส่งครูไปช่วยสอน และส่งนักเรียนให้มาดูงานที่กรุงเทพฯ ด้วย สำเร็จการศึกษา
รุ่นแรกเมื่อปี ๒๕๕๓ จำนวน ๓๙ คน ใน ๒ หลักสูตร คือช่างยนต์และช่างไฟฟ้า และได้งานทำแล้วทุกคน
ขณะนี้รับรุ่นที่ ๒ แล้ว
ศิษย์พระดาบสเรียนจบอย่างมีคุณภาพ... เก่งและดี
เมื่อทบทวนถึงค่าใช้จ่ายประมาณ ๖ - ๗ หมื่นบาทต่อคนต่อปี นับว่าไม่แพง เพราะได้
เปลี่ยนชีวิตคนให้ดีขึ้นปีละประมาณ ๑๕๐ คน ซึ่งเงินจำนวนนี้เมื่อเข้าทำงานเพียง ๑ ปี ก็นับว่าคุ้มค่าแล้ว
ที่เหลืออีก ๒๐-๓๐ ปี ถือเป็นกำไร เราเคยสำรวจอัตราเงินเดือนของเด็กที่สำเร็จออกไปทำงานได้รับ
เงินเดือนประมาณ ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทเศษ ซึ่งนับว่าดีมากสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานอะไรมาก่อนเลย
จึงนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก
115
เราจ้างครูวุฒิปริญญาตรีด้าน
วิศวกรรมศาสตร์จากต่างประเทศมาสอน
หลักสูตรช่างเชื่อมในโรงงาน ขณะที่ไม่จำเป็น
ต้องใช้แรงงานวุฒิในระดับนั้น ดังนั้น
จึงควรประสานเชื่อมโยงกับโรงงานต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรแล้ว
ได้ทำงาน นอกจากนี้ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทาง
ด้านช่างไม้เครื่องเรือน ยังเป็นที่ต้องการของ
ตลาดแรงงานอย่างมากด้วย ซึ่งทำให้เราต้อง
ให้ความสำคัญกับการผลิตแรงงานสายช่าง
อย่างมีคุณภาพ มีสมรรถนะความสามารถ และมีความอดทน ขยันหมั่นเพียรในการฝึกฝนควบคู่กัน
ไปด้วย
โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ส่งนายตำรวจมาช่วยในเรื่องการฝึกวินัย และการปรับปรุง
อุปนิสัยให้มีความอดทน อดกลั้น ซึ่งส่งผลดีต่อการฝึกงาน เมื่อคราวส่งไปฝึกที่โรงงานในประเทศญี่ปุ่น
จึงได้รับความชื่นชมมาก เนื่องจากญี่ปุ่นให้ความสำคัญในเรื่องระเบียบวินัย และเมื่อรวมในเรื่อง
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เข้าด้วยแล้ว ทำให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพมากขึ้นเพราะสามารถ
ทำงานอย่างมีความสุข
ดาบสอาสา... เครือข่ายการเรียนการสอน
ระบบครูอาสามี ๒ รูปแบบ คือ แบบที่ ๑
การสร้างเครือข่ายพันธมิตรช่วยตั้งแต่ต้น เช่น สถาบัน
เทคโนโลยีพระมงกุฎเกล้าพระนครเหนือ ช่วยดูแล
อุปกรณ์การเรียนการสอน ส่งอาจารย์มาช่วยเป็น
ประธานหลักสูตร หรือสอนด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุวรรณภูมิ ส่งอาจารย์และเครื่องมือมาช่วย และสถาบัน
พัฒนาฝีมือแรงงานและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ ส่งอาจารย์มา
ช่วยสอน เป็นต้น
อีกประเภทหนึ่ง คือ ผู้ที่ทำงานอยู่ตามกระทรวง ทบวง กรม หรือทำงานตามบริษัทห้างร้าน
หรือครู อาจารย์ที่เกษียณอายุแล้ว สมัครมาเป็นพระดาบสอาสา ผู้อำนวยการโรงเรียนช่วยกันคัดเลือกว่า
ใครจะเข้ามาสอนวิชาอะไรบ้าง นอกจากวิชาชีพ ยังมีวิชาพัฒนาทักษะชีวิต วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันของชาติ ศีลธรรม พุทธธรรม โดยใช้หลักสูตรนักธรรมตรี
116
งบประมาณจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ และผู้มีจิตศรัทธา
ปัจจุบันมูลนิธิพระดาบส ต้องใช้งบประมาณในเรื่อง
ของวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือจำนวนมากต่อผู้ที่เข้ามาเรียน
ในโครงการมูลนิธิพระดาบสแต่ละราย ซึ่งในแต่ละปีมูลนิธิ
พระดาบสสามารถรับศิษย์พระดาบสได้ประมาณ ๑๕๐ คน
ต่อปี งบประมาณที่ใช้จ่ายนั้นส่วนใหญ่ได้รับมาจาก
ทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นหลัก และอีกส่วนหนึ่งมาจาก
ผู้มีจิตศรัทธา ห้างร้านต่างๆ ช่วยเหลือสงเคราะห์
ทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และครูฝึก ส่วนค่าใช้จ่ายประจำได้รับบริจาคเป็นเงินสด รวมทั้งได้รับบริจาค
เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ คุณชุมพล พรประภา และครอบครัว ได้สร้างอาคารเรียนให้
๑ หลัง บริษัทตะวันออก ฮอลลีเมอร์ ในกลุ่มวิทูรย์และปกรณ์ สร้างอาคารให้ ๑ หลัง เป็นอาคารเรียน
ของเด็กผู้หญิง พร้อมโรงอาหารและหอพักด้วย
ทั้งนี้ มูลนิธิฯ จะต้องบริหารการใช้จ่ายให้เพียงพอ เพราะต้องดูแลค่าใช้จ่ายให้ผู้ที่เข้ามาเรียน
ตั้งแต่ต้นจนจบ
โรงเรียนพระดาบส... ต้นแบบการพัฒนาคนและสังคม
ควรมีการขยายผลการเรียนการสอนในแนวทาง
ของโรงเรียนพระดาบส อาจดำเนินการโดยภาครัฐหรือ
ภาคเอกชน เพื่อฝึกช่างฝีมือต่างๆ ที่ตลาดแรงงานต้องการ
บริษัทใหญ่ๆ ที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate
Social Responsibility : CSR) อาจพิจารณาเปิดโรงเรียน
ลักษณะดังกล่าวในถิ่นทุรกันดาร เพื่อผลิตบุคลากรด้าน
อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม โดยสร้างเครือข่ายกับครูผู้ฝึก
ซึ่งทำได้ไม่ยากในการออกแบบระบบโรงเรียนในแนวทางของโรงเรียนพระดาบสในพื้นที่ต่างๆ เพื่อพัฒนาคน
ให้มีอาชีพ เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างมั่นคง เป็นการคืนกำไรให้กับสังคม
ทรงมองประชาชนเสมือนลูกหลาน...
ทรงให้ความรัก ความห่วงใย และความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองประชาชนทุกคนเสมือนลูกหลาน พระองค์ทรง
ให้ความรัก ความห่วงใย ทรงให้ความสำคัญกับลูกทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในเมือง หรือบนดอย ไม่ว่าจะยากดีมีจน
ไม่ว่าจะฉลาดมากหรือน้อย ไม่ว่าจะมีโอกาสมากโอกาสน้อย ทำให้พระองค์มีพระราชดำริว่าจะทำอย่างไร
ให้ลูกแต่ละคนสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้สูงสุด พึ่งตนเองได้ ผู้ที่มีพื้นฐานที่ดีมากอยู่แล้วก็ขอให้ต่อยอด
117
ขึ้นไปอีก เพื่อกลับมาช่วยคนอื่นช่วยสังคม เช่น ลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นเจ้าของโรงงาน ๔ โรงงาน ในพื้นที่
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และสำนึกอยู่เสมอว่าที่ได้รับโอกาสชีวิตอย่างนี้ เพราะว่าโรงเรียน
พระดาบสมอบให้ จึงได้ตั้งแหล่งเรียนรู้คล้ายๆ โรงเรียนพระดาบสขึ้นในพื้นที่
ด้วยพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงทราบว่าจะช่วยประชาชน
แต่ละกลุ่มและแต่ละพื้นที่อย่างไร ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ลูกทุกคนสามารถช่วยตนเอง ครอบครัว
และช่วยสังคมได้ นับเป็นบุญของคนไทยที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริ
โครงการต่างๆ มากมาย เพื่อให้ลูกแต่ละคนได้รับการพัฒนาสูงสุด และพระองค์ทรงหวังว่า ลูกบางคน
เมื่อช่วยตนเองได้แล้วจะสามารถช่วยผู้อื่นต่อไป ซึ่งตรงนี้จะทำให้ประชาชนของพระองค์มีความรู้
รัก สามัคคี
๓. แนวพระราชดำริด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำริว่า การให้หรือการ
สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับ
ความทุกข์ยากลำบาก จะช่วยทำให้
โลกนี้มีความสงบร่มเย็น และช่วยให้
ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม
ได้ด้วยความสุข โดยทรงมีหลักการ
ในการพระราชทานความช่วยเหลือว่า
“ให้ เพื่อให้ช่วยตนเองได้” ดังนั้น
พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นส่งเสริมฐานะ
ความเป็นอยู่ของราษฎรให้ “พออยู่
พอกิน” และสามารถพึ่งตนเองได้
ซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีความมั่นคงในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง
และมีความมั่นคงในที่สุด
นอกจากนี้ หากราษฎรประสบความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ พระองค์จะพระราชทาน
ความช่วยเหลือในทันทีทันใด จนอาจกล่าวได้ว่า เมื่อเกิดความทุกข์แก่ราษฎรขึ้น ณ ที่ใด พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวจะทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้น หรือหากเสด็จฯ ไปช่วยเหลือด้วยพระองค์เองไม่ได้ จะทรงมี
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ทรงไว้วางพระทัยเดินทางไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันการณ์
โดยมีรับสั่งว่า “ไปให้ไว ไปให้ถึง ไปให้เร็ว”
สำหรับพระราชดำริด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ อาทิ
118
๓.๑ โรงงานแขนขาเทียมพระราชทาน โดย
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งขึ้น เพื่อให้
บริการอวัยวะแขนขาเทียมสำหรับทหารพิการ ทั้งนี้ ในระหว่าง
ฝึกหัดการใช้อวัยวะแขนขาเทียม และฟื้นฟูสมรรถภาพ จะได้
พิจารณาความถนัดและความต้องการของผู้ป่วย เพื่อฝึกอาชีพ
ต่อไป โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่ทหารผ่านศึกพิการ
ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วย
๓.๒ งานคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรเจ็บป่วยที่ยากจน
ซึ่งทรงพบในระหว่างเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ รวมถึงผู้ที่หน่วยแพทย์พระราชทาน หน่วยแพทย์
ที่ตามเสด็จฯ แพทย์หลวงหรือผู้แทนพระองค์พบ หรือผู้ที่มีหนังสือมาขอพระราชทานการรักษาทั่วไป
ให้ความช่วยเหลือจัดส่งคนไข้เข้าโรงพยาบาล และติดตามผลระยะยาวไปจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา
๓.๓ มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิสายใจไทย
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๑๘ เพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ
หรือพิการจากการปฏิบัติราชการสนามทั่วประเทศ
เยี่ยมเยียนให้กำลังใจในระหว่างการรักษา ช่วยติดตาม
ทวงถามสิทธิราชการให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิล่าช้า สอบถาม
ทุกข์สุข ให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพหรือการศึกษาแก่
ทหารพิการและครอบครัว มอบเงินช่วยเหลือแก่ครอบครัว
ผู้เสียชีวิต และสำหรับผู้บาดเจ็บทุพพลภาพให้รับเป็นรายเดือนตลอดชีพ
๓.๔ งานฎีการ้องทุกข์ ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากเฝ้าคอย
รับเสด็จฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาอยู่เสมอ จนถึงปัจจุบันยังคงมีราษฎรจำนวนมากทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
ผ่านสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประสานหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น ๆ
ตรวจสอบข้อมูล หากพบว่าราษฎรนั้นได้รับความเดือดร้อน ก็จะให้ความช่วยเหลือคลี่คลายปัญหาหรือ
บรรเทาความเดือดร้อนต่อไป
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการ
จัดทำ “โครงการพระราชทานความช่วยเหลือ” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
เพิ่มเติมจากขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ซึ่งหากพบว่าราษฎรรายใดยังมีความเดือดร้อนอยู่ จะส่งให้คณะกรรมการ
โครงการฯ พิจารณาให้ความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนตามหลักเกณฑ์ อันเป็นการพระราชทาน
ความช่วยเหลือโดยตรง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในที่สุด นอกจากนี้ หากพบว่าราษฎร
119
กลุ่มใดได้รับความเดือดร้อน ขาดแคลนปัจจัยในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ แม้ว่าจะมิได้ทูลเกล้าฯ
ถวายฎีกา โครงการฯ จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
ความช่วยเหลือต่อราษฎรที่ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์
ในเรื่องต่างๆ ทรงหาทางให้ราษฎรที่ได้รับการช่วยเหลือ
เหล่านี้รู้จักช่วยเหลือตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไปด้วย
การที่มีราษฎรจำนวนมากทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา แสดงถึงความเชื่อมั่นและความศรัทธาที่มีต่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตระหนักในน้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ที่พระราชทาน
ความช่วยเหลือต่อราษฎรของพระองค์ ประดุจบิดาที่ดูแลบุตรด้วยความรักและเมตตาอย่างสม่ำเสมอ
ตลอดมา โดยไม่เคยทรงเลือกว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ทั้งยังแสดงถึงความไม่มีช่องว่างระหว่าง
“พระเจ้าแผ่นดิน” กับ “ราษฎร” ซึ่งไม่มีแผ่นดินใดในโลกนี้เสมอเหมือน
๓.๕ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งขึ้น สืบเนื่องจาก
มหาวาตภัยพายุโซนร้อน “แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๐๕
มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๑,๐๐๐ คน และทำความเสียหายแก่
ภาคใต้ถึง ๑๒ จังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นห่วงผู้ประสบภัย และทรงติดต่อขอเครื่องบิน
จากกองทัพอากาศให้กรมประชาสงเคราะห์เดินทาง
ไปช่วยเหลือประชาชนโดยด่วน รวมทั้งทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อส. พระราชวังดุสิต ประกาศเชิญชวนให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์และ
สิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทรงรับและพระราชทานสิ่งของด้วยพระองค์เองเป็นเวลา
เดือนเศษ นับเป็นการใช้สื่อวิทยุในกิจการลักษณะนี้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้มีผู้บริจาคทรัพย์ถึง ๑๑ ล้านบาท
และสิ่งของมูลค่าประมาณ ๕ ล้านบาท ทรงให้จัดและขนส่งสิ่งของไปบรรเทาภัยแก่ประชาชนตลอดเวลา
และจัดซ่อมแซมบ้านและที่พักให้ผู้ประสบภัย รวมทั้งเครื่องมือประกอบอาชีพ หลังจากการให้ความช่วยเหลือ
บรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยเฉพาะหน้าแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินบริจาค
ส่วนที่เหลือจำนวน ๓ ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้ง “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” โดยทรงรับไว้
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบสาธารณภัย
120
ทั่วประเทศ และให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา
แก่ลูกหลานผู้ประสบภัย โดยพระราชทานทุน
การศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีเยี่ยมในโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ฯ และเด็กกำพร้าหรืออนาถา
ที่ครอบครัวประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ จนจบ
ชั้นสูงสุด รวมทั้งการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุง
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ฯ ตามความเหมาะสม
ซึ่งขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศรวม ๔๔ แห่ง ดำเนินการ
ให้มีการป้องกันสาธารณภัยทั่วประเทศ ตลอดจนให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับ
ความทุกข์ยากเดือดร้อนประการอื่น ซึ่งคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ พิจารณาเห็นสมควร และได้รับ
ความเห็นชอบจากมูลนิธิฯ
นอกจากนี้ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กระทรวงศึกษาธิการ สร้างโรงเรียน
ประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม ๑๒ โรงเรียน ใน ๖ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งภายหลัง พระราชทานชื่อว่า
“โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ถึง ๑๒” ตามลำดับ
ในโอกาสนี้ นายกองเอก ดร.ดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ประธานกรรมการ
บริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์
ได้ให้เกียรติสำนักงานฯ โดยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการน้อมนำแนวพระราชดำริการจัดตั้งมูลนิธิฯ
ไปปฏิบัติ บทบาทและการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ตลอดจนได้กรุณาให้คณะทำงานจัดทำหนังสือฯ
ร่วมคณะในการเดินทางไปช่วยเหลือและแจกถุงยังชีพพระราชทานแก่ผู้ประสบอุทกภัย
ครั้งใหญ่ ณ จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้
121
บทสัมภาษณ์ นายกองเอก ดร.ดิสธร วัชโรทัย
รองเลขาธิการพระราชวัง
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ บุรุษไปรษณีย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเหมือน
“ไปรษณีย์” มีหน้าที่นำพาน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรง
เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระมหากรุณาธิคุณ และความห่วงใยประชาชน
ไปพระราชทานแก่ผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ เช่น น้ำท่วม พายุ
ดินถล่ม ไฟไหม้ อากาศหนาวจัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงติดตามเหตุการณ์อย่าง
ใกล้ชิด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิฯ จัดหน่วยสงเคราะห์
เคลื่อนที่นำสิ่งของพระราชทาน อาทิ เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และเป็น
ประโยชน์กับประชาชนผู้ประสบภัยแต่ละประเภท ออกไปร่วมปฏิบัติงาน
กับส่วนราชการต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนที่จะฟื้นฟูการประกอบอาชีพให้กลับคืนเช่นเดิม
หรือดีกว่าเดิม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในระยะยาว โดยการพิจารณาสงเคราะห์แก่เด็กที่ประสบ
สาธารณภัยให้ได้รับทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ด้วย
122
เวลาไปพบประชาชนผมจะบอกอยู่ตลอดเวลาว่า เราไม่ใช่ผู้แทนพระองค์ แต่เป็น
“บุรุษไปรษณีย์” คือ เรานำความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปสู่ประชาชนที่ได้รับ
ความเดือดร้อน เป็นหน้าที่ของบุรุษไปรษณีย์ที่มีเจ้านายพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
พระบรมราโชบาย “ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลัน ไปให้ความอบอุ่น”
มูลนิธิฯ จึงโชคดีที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่นี้
โดยยึดมั่นในพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเรื่องการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ตกทุกข์ได้ยากว่า “ต้องไปโดยฉับพลันและรวดเร็ว
ที่สุด ไปให้ความอบอุ่น ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการ
ช่วยเหลือ และมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อไป”
เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าผู้ประสบภัย
เหมือนคนที่กำลังจะจมน้ำ เขาย่อมตะเกียกตะกายไขว่คว้าหาอะไรยึดเหนี่ยว เพื่อเอาชีวิตรอด มูลนิธิฯ
ก็เปรียบเสมือน “พระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่ยื่นเข้าไปช่วยเหลือราษฎร ให้ได้
คว้าพระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอันดับแรก เพื่อให้พ้นจากภัยนั้น
“พระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดิน” ซึ่งคือมูลนิธิฯ เป็นสิ่งแรกที่ดึงคนขึ้นจากน้ำ และพระหัตถ์
เดียวกันนี้จะส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยียวยา ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะกรรมการ
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๖ ความตอนหนึ่งว่า
“...ให้ไปให้ความอบอุ่น ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลัน
ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือ มีกำลังจะปฏิบัติงานต่อไป... การช่วย
ผู้ประสบภัยนั้น จะต้องช่วยในระยะสั้น หมายความว่า เป็นเวลาที่ฉุกเฉินต้อง
ช่วยโดยเร็ว และต่อไปก็จะต้องช่วยให้ต่อเนื่อง... ส่วนเรื่องการช่วยเหลือ
ในระยะยาวก็มีความจำเป็นเหมือนกัน... เป็นผลว่าเขาได้รับการดูแลเหลียวแล
มาจนกระทั่งได้รับการศึกษา ที่สามารถทำมาหากินได้โดยสุจริตและโดยมี
ประสิทธิภาพ เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ...”
ดังนั้น ทุกครั้งเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ใดในประเทศไทยก็ตาม เป็นภาพคุ้นตาที่จะเห็น
เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ตลอดจนอาสาสมัครเข้าไปมอบถุงยังชีพพระราชทาน และให้ความช่วยเหลือประชาชน
เป็นหน่วยงานแรกๆ ซึ่งสะท้อนถึงการยึดมั่นในพระบรมราโชบายของพระองค์ และการส่งสรรพกำลังไปสู่
ความช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ผ่านความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ และเพื่อให้งานสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
123
ประจำจังหวัดนั้นๆ โดยมูลนิธิฯ สนับสนุนเงินปีละ ๕ แสนบาท ยามมีสาธารณภัยจะได้ดูแลช่วยเหลือได้
อย่างรวดเร็ว
ถุงยังชีพพระราชทาน... น้ำพระทัยและความเอื้ออาทร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แม้ว่ามูลค่าของใน “ถุงยังชีพพระราชทาน” ที่ผู้ประสบภัยได้รับไป
จะเพียงแค่ประทังชีวิต แต่สิ่งที่เขาเหล่านั้นได้รับคือ ความปรารถนาดี
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเอื้ออาทรและพระราชทาน
กำลังใจแก่ผู้ประสบภัย จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง
ที่ครั้งหนึ่งในชีวิต ขณะที่ประสบภัยและได้รับความเดือดร้อน จะได้รับ
ถุงยังชีพพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทา
ความเดือดร้อนในเบื้องต้น จากความห่วงใยและน้ำพระทัยของ
พระองค์ที่ทรงไม่ทอดทิ้งประชาชน เวลาคนหมดหนทาง พอเขาได้
อะไรมาค้ำชู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าแผ่นดิน
ก็จะมีแรงมาสู้ต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นมากกว่าพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวม
จิตใจและที่ยึดเหนี่ยวของทุกคน ผมจะบอกกับราษฎรว่า มูลค่าสิ่งของนั้นน้อยนิด แต่น้ำพระทัยเปี่ยมล้น
ไปด้วยพระเมตตาที่พระราชทานให้กับพวกเรา
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของมูลนิธิฯ
สำหรับการเลือกว่าจะซื้ออะไรมาใส่
ถุงยังชีพนั้น เราพิจารณาอย่างถ้วนถี่ เพื่อให้เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ประสบภัยมากที่สุด โดยเน้นของที่สามารถ
บริโภคได้ทันทีและเก็บได้นานพอสมควร สำหรับขั้นตอน
การแจกสิ่งของพระราชทาน ผมได้กราบบังคมทูล
อย่างชัดเจนถึงวิธีการแจกของว่าเหตุใดจึงไม่จัดสิ่งของ
ใส่ถุงไปตั้งแต่แรก จะเห็นว่าเวลาที่มูลนิธิฯ ไปแจกถุงยังชีพ
พระราชทาน จะวางสิ่งของต่างๆ ที่จะแจกไว้เป็นจุดๆ
เพื่อให้ทุกคนได้เห็นและทราบว่าของที่นำไปแจกนั้นมีทั้งหมดกี่อย่าง แต่ละอย่างที่ให้ไปนั้นมีจำนวนเท่าไร
และซื้อมาจากไหน ซึ่งสำคัญมาก หากของไม่มีคุณภาพก็สามารถนำไปขอเปลี่ยนกับร้านค้าที่มูลนิธิฯ
ซื้อมาได้ โดยทุกคนจะถือถุงพระราชทานเดินผ่านเพื่อรับของในแต่ละจุด เหมือนการตักบาตร ฉะนั้น
ทุกคนจะได้รับสิ่งของที่มีคุณภาพเหมือนกัน ในเวลาเดียวกัน รวมทั้งเป็นการลดการใช้กำลัง และค่าใช้จ่าย
ในการจัดของลงถุง ตลอดจนป้องกันการเสียหายได้ด้วย
124
ส่วนการประสานให้ผู้ประสบภัย
มารวมตัวและรับของในจุดเดียว แทนที่มูลนิธิฯ
จะเดินทางเข้าไปแจกของถึงตัวประชาชน
ณ ที่พัก ช่วยให้สามารถแจกถุงยังชีพ
พระราชทานได้มากถึง ๖,๐๐๐ ชุดต่อวัน
รวมถึงใช้วิธีการให้ผู้รับของแจกช่วยเก็บ
เก้าอี้และขยะ เพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่
ซึ่งนับเป็นการบริหารจัดการที่เป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และช่วยสร้างวินัย
ให้เกิดแก่ประชาชนด้วย
ด้านการกำหนดพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ จะเข้าไปแจกในส่วนที่เดือดร้อนที่สุด โดยใช้กลไก
ของทางรัฐบาลในจังหวัดคือผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิด
ข้อมูลช่วยคัดเลือกให้ และเวลาที่มูลนิธิฯ ลงพื้นที่จะมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย ซึ่งจะช่วยให้การแจกของของหน่วยงานต่างๆ
ไปถึงผู้ที่เดือดร้อนจริง และมีการกระจายอย่างทั่วถึง และนี่คือเหตุผลที่มูลนิธิฯ เข้าถึงพื้นที่เร็วที่สุด
ให้การสงเคราะห์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างบูรณาการ
อย่างไรก็ตาม มูลนิธิฯ ไม่สามารถทำงาน
ทุกอย่างเพียงลำพังได้ รัฐบาลยังคงต้องเป็นเสาหลัก
ในการที่จะเข้ามาช่วยเหลือ มูลนิธิฯ เพียงแต่ช่วยดึงเขา
ขึ้นมาก่อน หน้าที่ต่อไปคือ ไปตามหมอหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
มาช่วยเหลือเขา เพราะเราคงไม่สามารถทำทุกอย่าง
เพียงลำพัง เราไปถึงที่เกิดเหตุก่อน เพื่อให้ความช่วยเหลือ
เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย คำว่า เบื้องต้น คือ น้ำท่วม
ไม่มีอาหารกิน ก็ส่งเครื่องบริโภค ข้าวปลาอาหาร น้ำดื่ม ฯลฯ ไปให้ ไฟไหม้ บ้านพัง ก็ส่งเครื่องอุปโภค
เช่น หม้อ กระทะ อุปกรณ์ต่างๆ หรือผู้ประสบภัยหนาว ก็จะได้รับพระราชทานผ้าห่ม เป็นต้น เราทำหน้าที่
อุ้มชูเขาขึ้นมา แล้วส่งต่อผ่านให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้การช่วยเหลือต่อไป
ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับสั่งแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ความตอนหนึ่งว่า
“...เมื่อผู้ใดประสบภัยธรรมชาติแล้วย่อมมีความเดือดร้อนมาก เพราะไม่ทราบ
ล่วงหน้าว่าภัยธรรมชาติจะมาเมื่อไหร่ ใครจะโดนมากน้อยแค่ไหนก็ไม่ทราบ ฉะนั้นเมื่อ
ถูกภัยธรรมชาติแล้ว จึงทำให้จิตใจมีความทุกข์มาก และการที่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
125
ได้ปฏิบัติการ ก็ได้บรรเทาความเดือดร้อนนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะว่าเมื่อเดือดร้อน
ได้มีผู้ไปช่วยเหลือโดยเร็ว ก็ทำให้จิตใจนั้นเบิกบานขึ้นได้ ในการนี้ก็ต้องอาศัยกำลังคน
ที่จะไปปฏิบัติการ และกำลังทรัพย์ที่จะนำสิ่งของไปบริจาค ท่านทั้งหลายที่บริจาคเงิน
จึงเป็นผู้ที่ช่วยเหลือกิจการนี้และนับได้ว่าได้บุญมากที่ได้สงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก
โดยฉับพลัน...”
ด้วยเหตุนี้ บทบาทการทำงานของมูลนิธิฯ ไม่เพียงแค่ส่งมอบถุงยังชีพพระราชทาน แต่รวมถึง
การประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ให้เข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที คือช่วย “เติมเต็ม
ในสิ่งที่ขาด” ซึ่งเป็นภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของมูลนิธิฯ ที่จะต้องทำงานร่วมกับหน่วยงาน
ต่างๆ ได้ ด้วยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ช่วยเหลือประชาชนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พ้นจาก
ความทุกข์ที่เขาประสบ
เพราะมูลนิธิฯ ไม่ใช่มีเพียงพระราชา แต่โดยความหมายคือ พระราชาและประชาชน
อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน อันเป็นการแสดงน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
“เวลาทำงานควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย” ปัจจุบันนี้ จึงมีหน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณกุศล
เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยไม่ต้องแข่งกันทำ แต่เป็นการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจาก
ทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย
ไม่ควรให้ปลาแก่ผู้ยากไร้ แต่ควรให้เบ็ด เพื่อให้เขายังชีพต่อไปได้
นอกจากการเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วและ
ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องให้เยียวยาต่อไปได้แล้ว
สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ แนวทางช่วยเหลือระยะยาว
แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กกำพร้า
ที่สูญเสียผู้ปกครองจากภัยพิบัติ ก็จะขาดผู้อุปการะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์
ให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนหนังสือตามกำลังความสามารถ
เด็กคนใดถนัดทางวิชาชีพก็ส่งเสริมในทางวิชาชีพ
คนใดขยันขันแข็งก็ส่งเสริมให้เรียนถึงขั้นอุดมศึกษา
เพื่อจะได้ช่วยตนเองและเป็นกำลังรับใช้ประเทศชาติต่อไป โดยมูลนิธิฯ ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องระยะยาว
เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณของทางราชการ โดยพระองค์รับสั่งว่า
“เราไม่ควรให้ปลาแก่ผู้ยากไร้ เราควรให้เบ็ด เพื่อให้เขายังชีพต่อไปได้ในอนาคต”
การให้การศึกษา จึงเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของมูลนิธิฯ ที่จะช่วยให้ลูกหลานของผู้ประสบภัย
ได้เล่าเรียนจนถึงวุฒิการศึกษาที่สูงสุดตามที่เด็กประสงค์จะเรียน เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ และเป็น
พลเมืองที่ดีของชาติต่อไป
126
ขยายขอบเขตทุนพระราชทานการศึกษา
นอกจากนี้ในระยะเริ่มแรกกรรมการ
เป็นห่วงเรื่องจะต้องใช้เงินจำนวนมาก แล้วเด็กจะ
เรียนต่อไปไม่ได้ หากมูลนิธิฯ มีปัญหาเรื่องการเงิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า จะทรงช่วย
โดยให้กรรมการมูลนิธิฯ กราบบังคมทูลขอไป
ต่อมา เมื่อมูลนิธิฯ เติบโตมั่นคงขึ้น ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยาย “ทุนพระราชทาน
การศึกษา” แก่นักเรียนที่เรียนดีเยี่ยมในโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ทุกแห่ง โดยไม่จำเป็นต้อง
เป็นบุตรผู้ประสบภัยเท่านั้น โดยขยายโอกาสถึงเด็กยากจนมากเป็นพิเศษ มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด
ถูกทอดทิ้งและกำพร้า ถูกทำร้ายอย่างทารุณ ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคม
รังเกียจ เด็กในชนกลุ่มน้อย เร่ร่อน ถูกบังคับให้ขายแรงงานอยู่ในธุรกิจบริการทางเพศ และเด็กในสถานพินิจ
และคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดังนั้น จึงมีเด็กในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิฯ เรียนจบออกไปทำงานรับใช้
ชาติบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก
ทุนดำเนินการของมูลนิธิฯ
การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุน
ด้านการเงินจาก ๕ ส่วนด้วยกัน หนึ่ง ได้รับพระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอง เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
สาม เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา โดยผู้ที่บริจาคเงินเกิน
หนึ่งพันบาททางมูลนิธิฯ จะนำเงินไปฝากธนาคารหรือซื้อ
พันธบัตร ภายใต้ชื่อโครงการ “สมุดออมเงินเพื่อผลบุญ
ที่งอกเงยไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด” สี่ ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้ และ
ห้า จากดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินอันเป็นทุนของมูลนิธิฯ
ผลการดำเนินงานสำคัญ
นับเป็นเวลา ๔๘ ปี ที่ไปรษณีย์แห่งนี้ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่างๆ โดยให้
ความช่วยเหลือตั้งแต่ด้านอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ซ่อมแซมที่พักอาศัย สร้างที่พักชั่วคราว
รวมทั้งรับสงเคราะห์บุตรหลานของผู้ประสบภัยที่กำพร้าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่เสียชีวิต
127
ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๐๖ -
กันยายน ๒๕๕๔ ได้ให้ความช่วยเหลือรวม ๒,๔๖๕,๘๒๒ ครอบครัว มีจำนวน ๙,๖๖๖,๔๒๗ คน
คิดเป็นมูลค่าสิ่งของพระราชทาน ๖๖๒.๕ ล้านบาท ประกอบด้วย อุทกภัย ๔๖๑.๔ ล้านบาท ภัยหนาว
๑๐๘.๐ ล้านบาท อัคคีภัย ๓๖.๘ ล้านบาท วาตภัย ๒๐.๓ ล้านบาท และภัยอื่นๆ ๓๖.๐ ล้านบาท
สำหรับการมอบทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ต่อเนื่องแก่นักเรียนกำพร้าที่ครอบครัว
ประสบสาธารณภัยต่างๆ โดยได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี ในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์
ซึ่งมีอยู่ ๔๔ แห่งทั่วประเทศ ตลอดจนให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยาก
เดือดร้อนตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนตามความถนัดของแต่ละคนจนจบการศึกษา
ขั้นสูงสุดเท่าที่จะเรียนได้ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๙ จนถึงปัจจุบัน รวม ๑,๗๑๖ คน โดยสำเร็จการศึกษาระดับต่างๆ
แล้ว ๑,๒๐๖ คน และกำลังศึกษาอยู่ ๕๑๐ คน
“เครือข่ายสังคม” ภาพลักษณ์ใหม่และแนวทางบริหารของมูลนิธิฯ
แนวความคิดหลักการบริหารของผมคือ พบกันเมื่อเกิดภัย เวลาที่ทัศนียภาพสวยงาม อากาศ
เย็นสบาย ผมไม่เคยได้ไปเที่ยวเลย ถ้าอากาศหนาวจัดผมจะไปแจกผ้าห่ม ภัยแล้งก็ไปทำฝนหลวง น้ำท่วม
ก็ไปแจกถุงยังชีพ มูลนิธิฯ จะเข้าไปถึงก่อน ต่อมาหน่วยงานราชการก็จะตามเข้ามาบูรณาการต่อไป จากนั้น
เราจะกลับเข้าไปอีกรอบไปดูแลสงเคราะห์ว่าเขามีความเป็นอยู่อย่างไร พร้อมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่
เด็กกำพร้าที่สูญเสียผู้ปกครองจากภัยพิบัติ สร้างโรงเรียน หรือสถานที่สาธารณประโยชน์ที่ทำให้เกิด
ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันผมได้ใช้แนวการบริหารแบบใหม่
ซึ่งเห็นได้จากการปรากฏตัวของมูลนิธิฯ ในโลกของ
เครือข่ายสังคม (Social Network) ที่นิยมในปัจจุบันคือ
facebook ทีวีดาวเทียม สื่อสิ่งพิมพ์ และได้ร่วมทำ
กิจกรรมกับหน่วยงานที่หลากหลาย ตลอดจนร่วมจัดทำ
ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๗ เรื่อง เพื่อให้
ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงพระราชกรณียกิจอันแสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะ
พระมหากรุณาธิคุณ และความเสียสละของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
เด็กรุ่นใหม่รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แต่ไม่ซาบซึ้งว่า
การใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงงานไว้อย่างเหนื่อยยากและ
ตรากตรำ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หรือภาคเอกชนเข้ามาร่วม จึงทำให้เกิดประโยชน์สุข
การเปิด facebook ของมูลนิธิฯ เป็นประโยชน์อย่างมาก มีผู้ที่จิตอาสาเข้ามาเป็นเครือข่าย
จำนวนมาก เช่นขณะนี้ประชาชนประสบปัญหาอุทกภัย ในบางพื้นที่จำเป็นต้องจัดถุงยังชีพไปจาก
สำนักงาน ต้องบรรจุถุงยังชีพครั้งละ ๒ หมื่นถุง เราใช้วิธีแจ้งทาง facebook ปรากฏว่าผู้มีจิตอาสาเข้ามา
ช่วยเป็นจำนวนมาก
แนวพระราชดำริด้านการศึกษา
ตลอดระยะเวลากว่า ๖๕ ปี
ของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย
ในการศึกษาของพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง
ทรงมีพระราชปณิธานที่จะให้การ
ศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและ
มีคุณภาพ ทรงเห็นว่าการศึกษา
มีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิต
ความเป็นอยู่ของประชาชนและต่อ
การพัฒนาประเทศ
แนวพระราชดำริด้านการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
๒.๑ ทรงสนับสนุนให้ประชาชน
ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงในทุกระดับ พระองค์
มีแนวพระราชดำริให้วางรากฐานความรู้และการศึกษา
อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างคน
ให้มาพัฒนาประเทศต่อไป โดย “สร้างโอกาสให้
ประชาชนได้รับความรู้” ในทุกระดับของการศึกษา
ทั้งในระบบและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
นับตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล จนถึงระดับประเทศ
และทรง “สร้างรากฐานอย่างทั่วถึง” โดยพระราชทานพระราชดำริให้ราษฎรที่ด้อยโอกาส ไม่ได้รับการศึกษา
ในโรงเรียน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ดังเห็นได้จากการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
หรือที่ดิน ในการจัดสร้างโรงเรียนต่างๆ อาทิ การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนชาวเขาและเยาวชนใน
ชนบทห่างไกล และพระราชทานนามโรงเรียนว่า“โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” นอกจากนี้ ทรงจัดตั้ง
“โรงเรียนร่มเกล้า” สำหรับเยาวชนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลหรือพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งในภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และทรงสนับสนุนให้จัดตั้ง “โรงเรียนราชประชาสมาสัย”
เพื่อเป็นสถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนที่เป็นบุตรธิดาของคนไข้โรคเรื้อน ซึ่งมิได้ติดโรคจากบิดา
มารดา โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนในวัดหลายแห่ง อาทิ ในจังหวัดสมุทรปราการ ราชบุรี นครพนม
และน่าน โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต และโรงเรียนราชวินิตมัธยม สำหรับบุตรข้าราชบริพาร
ในพระราชวังและประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นโรงเรียนพระราชทาน
สาธิตแห่งแรกของกรุงเทพฯ
102
ตลอดจนทรงรับโรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
รวมทั้งทรงริเริ่มให้มีสถาบันเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหาร อันเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศ
โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ
NIDA
๒.๒ พระราชทานทุนการศึกษาในทุกระดับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
พระกรุณาพระราชทานทุนการศึกษาและรางวัล
ต่างๆ ทุกระดับการศึกษา เช่น ทุนการศึกษาในมูลนิธิ
ช่วยนักเรียนขาดแคลน ทุนการศึกษาแก่นักเรียน
ชาวเขา รางวัลแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น
ระดับประถมและมัธยมศึกษาทั้งประเทศ ทุนมูลนิธิ
ราชประชานุเคราะห์เพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ประสบ
สาธารณภัย ทรงส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทุกประเภท ทรงพระกรุณาฟื้นฟู
ทุนเล่าเรียนหลวงและทรงก่อตั้งทุนภูมิพล และทุนอานันทมหิดล ส่งเยาวชนไปศึกษาวิทยาการระดับสูง
สาขาต่างๆ ในต่างประเทศ
๒.๓ จัดทำโครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่สำคัญแก่เยาวชน ได้แก่ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยทรงมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหนังสือความรู้
ที่เหมาะแก่เด็กในวัยต่างๆ รวมทั้งผู้ใหญ่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้
โดยพระองค์ทรงกำหนดหลักการทำคำอธิบาย
เรื่องต่างๆ แต่ละเรื่องเป็นสามตอนหรือสามระดับ สำหรับให้เด็ก
รุ่นเล็กอ่านเข้าใจระดับหนึ่ง สำหรับเด็กรุ่นกลางอ่านเข้าใจได้
ระดับหนึ่ง และสำหรับเด็กรุ่นใหญ่ รวมถึงผู้ใหญ่ผู้สนใจอ่านได้
อีกระดับหนึ่ง เพื่ออำนวยโอกาสให้บิดามารดาสามารถใช้หนังสือนั้น
เป็นเครื่องมือแนะนำวิชาแก่บุตรธิดา และให้พี่แนะนำวิชาแก่น้อง
เป็นลำดับกันลงไป นอกจากนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดมีความเกี่ยวพัน
ต่อเนื่องถึงเรื่องอื่นๆ ก็ให้อ้างอิงถึงเรื่องนั้นๆ ด้วยทุกเรื่องไป ด้วยประสงค์
จะให้ผู้ศึกษาทราบและตระหนักว่าวิชาการแต่ละสาขามีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงกัน ควรศึกษา
ให้ครบถ้วนทั่วถึง
๒.๔ พระราชทานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริด้วยว่าราษฎรในชนบทโดยเฉพาะ
ในท้องที่ทุรกันดารควรได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับความเป็นอยู่
103
ให้สามารถอยู่ได้โดยการ “พึ่งตนเอง” ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยพระราชทานโครงการต่างๆ เพื่อให้
เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถิ่นชนบทให้ช่วยตัวเองได้
๒.๕ สร้างศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ให้ราษฎรเรียนรู้
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี
“ตัวอย่างของความสำเร็จ” ในเรื่องการพึ่งตนเอง มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาส
ได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง ดังนั้น พระองค์จึงพระราชทาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาจำนวน ๖ ศูนย์ กระจายอยู่ในภาคต่างๆ ตามสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาสรรพวิชา ค้นคว้า ทดลอง สาธิตและดูงานทั้งของส่วนราชการและประชาชน
ทุกสิ่งทุกอย่างจัดไว้ให้ผู้เข้ามาศึกษาดูได้ในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” แล้วนำไปเป็น
แนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสม
๒.๖ ทรงสอนให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
ทรงตระหนักดีว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศ
เกษตรกรรมโดยพื้นฐาน ประชาชนที่ประกอบอาชีพการเกษตร
ต้องอาศัยธรรมชาติในการทำมาหากิน จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์
จากธรรมชาติให้มากที่สุด และไม่ทำลายธรรมชาติ ทรงมุ่งเน้น
ให้ประชาชนชาวไทยอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างสันติ ไม่เบียดเบียนหรือก่อปัญหาให้เกิดขึ้น
กับสภาวะแวดล้อม แนวพระราชดำริที่พระราชทานดังกล่าว คือ การให้การศึกษาแก่เกษตรกรให้มีการทำ
การเกษตรอย่างยั่งยืน
๒.๗ พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” เพื่อเกษตรกร
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับเกษตรกรได้แก่ “ทฤษฎีใหม่” ว่าด้วยการบริหาร
จัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การปฏิบัติตาม
ทฤษฎีใหม่นี้ เกษตรกรจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้
ในขั้นแรก และสามารถพัฒนาไปขั้นที่สอง เป็น
การรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ในการขาย
ผลผลิตและเมื่อผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว ก็สามารถพัฒนา
ไปขั้นที่สาม เพื่อหาทุนหรือแหล่งเงินมาช่วยในการลงทุน
และพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “ครูแห่งแผ่นดิน”
โดยวิธีการสอนของพระองค์ คือ “ทรงทำให้ดู” ซึ่งรับสั่งอยู่เสมอว่า “ทำให้เขาดู” ดังจะเห็นว่า
104
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ จะทรงทดลอง
ทดสอบ แล้วจึงแสดงให้ดูเพื่อชักจูงให้ประชาชนสนใจ
อันเป็นลักษณะประชาธิปไตย และทรงมีความเป็นครูมาก
โดยจะพระราชทานคำอธิบายที่มีแง่มุมต่างๆ อย่างละเอียด
ทั้งนี้ จะทรงใช้ “อุบาย” เป็นการสอนแบบ
ทางอ้อม เช่น บางสถานการณ์ที่เร่งด่วนและอาจมีภัย
ถึงประชาชน พระองค์จะทรงไต่ถามสถานการณ์ขณะนั้นว่า
เป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้สึกและเข้าใจว่า ต้องรีบดำเนินการโดยทันที จะรอเวลาราชการไม่ได้
เพราะความทุกข์ยากของประชาชนไม่มีวันหยุด
นอกจากนี้ ทรงตระหนักว่า การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชนและการพัฒนาประเทศ และทรงถือว่า “การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตมนุษย์”
ดังกระแสพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทซึ่งได้พระราชทานไว้ ณ โอกาสต่างๆ ที่อัญเชิญมาบางตอน
ความว่า
“...การพัฒนาให้ประชาชนทั่วไป มีความอยู่ดีกินดี มีความมั่นคงด้วยการ
ให้การศึกษา การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ ให้เป็น
ทรัพยากรทางปัญญาที่มีค่าของชาติ...”
“...งานด้านการศึกษา เป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญ
และความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมือง เป็นข้อใหญ่...”
พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการศึกษาดังกล่าวแล้วนี้
ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตพสกนิกรของพระองค์ เพื่อสามารถมีการศึกษาเรียนรู้
ในการประกอบอาชีพ มีรายได้พอเพียงเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญ
ในการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป และประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความผาสุกภายใต้ร่ม
พระบารมีตลอดไป
ทั้งนี้ สำนักงานฯ ขอนำเสนอการดำเนินงานของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
และมูลนิธิพระดาบส ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านการศึกษา
ตามแนวพระราชดำริ โดยสำนักงานฯได้รับเกียรติจากนายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการ
พระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
ที่ได้กรุณาให้สัมภาษณ์ถึงความเป็นมาและการน้อมนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติผ่านมูลนิธิ
ดังกล่าวดังนี้
105
บทสัมภาษณ์ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย
รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้น
ที่โรงเรียนไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดำเนิน “โครงการศึกษาทางไกล
ผ่านดาวเทียม” โดยเป็นแม่ข่ายการถ่ายทอดระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ส่งสัญญาณออกอากาศแพร่ภาพ
ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในเครือข่ายทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เสริมสร้าง
ประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ขยายไปสู่ชนบทห่างไกล ซึ่งไม่มีใครคิดทำมาก่อนแล้ว ยังเป็นการสร้าง
โอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน ระหว่างโรงเรียนชนบทท้องถิ่นทุรกันดาร
และโรงเรียนในเมือง รวมทั้งช่วยให้ประชาชนได้นำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจน
บรรเทาปัญหาของโรงเรียนในจังหวัดห่างไกลและโรงเรียนในชนบทที่ขาดแคลนครูสอนวิชาเฉพาะหรือ
สอนวิชาสามัญ โดยพระองค์ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” เพื่อบริหาร
106
จัดการและดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันมีโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนครูได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่ง
ปัจจุบันโรงเรียนที่จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีจำนวนกว่า ๒๔,๐๐๐ โรงเรียน
ซึ่งรวมถึงโรงเรียนปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเปิดสอนวิชาสามัญตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
ถึงมัธยมศึกษา โครงการนี้ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ได้ถ่ายทอดไปยังโรงเรียน
และมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ได้แก่ ลาว พม่า เวียดนาม จีน สิงคโปร์ กัมพูชา และวัดไทย ๑๕ แห่ง
ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สอนภาษาไทย พุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทยให้กับคนมาเลย์เชื้อสาย
ไทยด้วย
“ครูตู้” คุณครูพระราชทานผ่านดาวเทียม
ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมา มูลนิธิ
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้จัดการศึกษา
โดยการถ่ายทอดการเรียนการสอนหลักสูตร
ขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเป็น
โรงเรียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้น
การรับฟังการเรียนการสอนจากโรงเรียนนี้เท่ากับ
ได้รับฟังการเรียนการสอนที่พระราชทานจาก
โรงเรียนของพระองค์ท่านในรูปแบบ “ถ่ายทอดสด
๑ ช่อง ๑ ชั้น” สอนโดยครูคนเดียวกัน วิชาเดียวกัน เวลาเดียวกัน คุณภาพมาตรฐานเช่นเดียวกัน
กับนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ ที่ขาดแคลนครูโดยเฉพาะ
ครูประจำวิชา สามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้เท่าเทียมกัน อีกทั้งช่วยให้เด็กนักเรียน
ในต่างจังหวัดผู้ด้อยโอกาสและยากจนรู้สึกว่าตนมิได้ถูกทอดทิ้ง แต่ได้รับพระราชทานการศึกษา ผ่าน
“ครูตู้” หรือเครื่องรับโทรทัศน์ ถ่ายทอดการเรียนการสอนสู่ห้องเรียนแต่ละห้อง แต่ละชั้นเรียน
ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยแต่ละโรงเรียนติดตั้งจานดาวเทียมเพียงจานเดียว และติดตั้งเครื่อง
รับสัญญาณ (IRD) จำนวนเท่ากับจำนวนห้องเรียนเท่านั้น ก็สามารถรับสัญญาณได้
“ศึกษาทัศน์” รายการพระราชทาน... ค้นหาความรู้จากพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากหลักสูตรขั้นพื้นฐานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรายการ
“ศึกษาทัศน์” หรือ Quest for Knowledge เป็นรายการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนและครู
โรงเรียนวังไกลกังวล เดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ศึกษาหาความรู้จากพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในเรื่องภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว และศิลปะแขนงต่างๆ โดยพระราชทานให้มีการ
107
บันทึกเทปการเรียนการสอน อาทิ การดูแลปรับปรุง
คุณภาพดินในโครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่า กิจการ
ฝนหลวง โดยทรงหยิบยกประสมประสานเรื่องราว
ต่างๆ ที่มีแง่คิดชวนติดตาม ทรงแสดงแผนภูมิที่ทรง
วาดและภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เป็นสื่อการสอน ซึ่ง
แสดงถึงพระปรีชาสามารถในศาสตร์แขนงต่างๆ
นับว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ทรง
สอนนักเรียนในลักษณะเช่นนี้
มูลนิธิฯ มอบอุปกรณ์ และจัดการเรียนการสอน
สำหรับวิธีดำเนินงาน มูลนิธิฯ จะจัดสรรอุปกรณ์รับสัญญาณ
ดาวเทียมให้แก่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั่วประเทศ และ
ดำเนินการซ่อมแซมและจัดสรรให้ใหม่ในกรณีชำรุดหรือ
เสื่อมคุณภาพ ตลอดจนจัดสรรกล้อง Video Conference เพื่อ
การศึกษาสื่อสาร ๒ ทาง รวมทั้งส่งสัญญาณการเรียนการสอน
ให้แก่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทุกแห่ง
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ
NECTEC นำเทปที่บันทึกการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวล มาปรับปรุงและจัดทำในรูปแบบ
e-Learning ตามโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำ
เทปการสอนทุกกลุ่มสาระส่งกลับไปให้ครูประจำวิชาที่โรงเรียนวังไกลกังวลตรวจสอบความถูกต้อง
ก่อนจะนำเข้าระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อเผยแพร่ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ร่วมโครงการ
เพื่อการสอนเสริมด้วยอินเทอร์เน็ตนอกเวลาเรียน โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจะจัดสรร
คอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้แก่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทุกแห่ง
พัฒนาการศึกษาทางไกล... สู่ความเป็นสากล
มูลนิธิฯ ได้พัฒนาจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตตามโครงการ DLF e-School โดยจัดการเรียนการสอน
ทุกชั้นเรียนด้วยระบบ e-Learning ที่ www.dlf.ac.th ซึ่งสามารถ
เลือกเข้าชมได้ทั้งการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) เช่นเดียวกับ
ที่ออกอากาศทางโทรทัศนในช่วงเปิดภาคการศึกษา หรือเลือกชม
รายการย้อนหลัง (On Demand) ได้ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการต่างประเทศและ
วัดไทยในต่างประเทศ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางไกลขึ้น ๔ แห่ง ได้แก่ วัดป่าธรรมชาติ นครลอสแอนเจลิส
108
และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา วัดศรีนครินทร
วราราม ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และวัดไทยธรรมประทีป ประเทศฝรั่งเศส
เพื่อจัดการศึกษาทางไกลให้ลูกหลานไทยในต่างประเทศ และชาว
ต่างประเทศที่สนใจสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยได้ตามอัธยาศัย
โดยสามารถรับชมได้ที่ www.dlfeschool.in.th ซึ่งเป็นการสอน
นอกระบบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
และตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ มหาวิทยาลัยโอเรกอน เมืองยูจีน สหรัฐอเมริกา ได้จัดโครงการอบรมครู
สอนภาษาอังกฤษให้โรงเรียนทั่วประเทศไทย ด้วยระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)
ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุน
เทคโนโลยีที่ธรรมดาแบบไม่ธรรมดา... เรียบง่าย ได้ผล และประหยัด
เมื่อปี ๒๕๔๙ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งสหประชาชาติ หรือ เอสแคป ได้จัด
ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับผู้ทรงคุณวุฒิในภูมิภาค
จากนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ
ประเทศจีน อินเดีย อิหร่าน มาเลเซีย เนปาล
ปากีสถาน เกาหลี และไทย เพื่อเตรียมข้อเสนอแนะ
สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีในภูมิภาคเอเชีย
และแปซิฟิก ว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีอวกาศ
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรากฏว่ารายงานผลการประชุมดังกล่าว ได้ชื่นชมมูลนิธิฯ ว่า ความร่วมมือจาก
หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ล้วนเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการศึกษาทางไกลสัมฤทธิผลเป็นที่พิสูจน์ได้
สมควรเป็นแบบอย่างของความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาทางไกลในภูมิภาค ตลอดจนการรู้จัก
เลือกใช้ “เทคโนโลยีที่ธรรมดาแบบไม่ธรรมดา” เป็นเทคโนโลยีที่เรียบง่าย แต่ได้ผลและประหยัด
เป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญระดับผู้ทรงคุณวุฒิมีความประทับใจ ไม่ว่าเป็นลักษณะการจัดการห้องเรียนต้นทาง
ที่ประหยัด หรือการสื่อสาร ๒ ทางด้วยระบบ TV Conference ในลักษณะ ๒ Way Audio, ๑ Way Visual
ที่ปลายทางเห็นภาพและได้ยินเสียงต้นทาง ส่วนต้นทางไม่เห็นภาพ แต่ได้ยินเสียงปลายทาง สามารถ
โต้ตอบกันได้โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่า ต้นทางไม่จำเป็นต้องเห็นปลายทาง ๔ ล้านคน เนื่องจาก
ไม่สมเหตุผลและไม่คุ้มค่า
เรียนผ่าน “ครูตู้” ผลสัมฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจากการเรียนกับระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ “ครูตู้”
เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง และมีสถิติสูงขึ้นทุกปี โดยนักเรียนในโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
109
ที่ได้เกรดเฉลี่ย ๓.๕ ขึ้นไป มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
จะสนับสนุนทุนการศึกษา ให้ได้รับการศึกษาต่อ
ในระดับปริญญาตรี โดยขณะนี้มีนักเรียนที่จบจาก
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั่วประเทศด้วยระบบ
ทางไกลผ่านดาวเทียมจากทุกภาคของประเทศ
จำนวน ๖๘๔ คน สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดม
ศึกษาและประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก
อาทิ มีผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปี ๒๕๔๔
และ ๒๕๔๕ โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
จำนวนปีละ ๔ คน ในปี ๒๕๔๖ จำนวน ๕ คน ปี ๒๕๔๗ จำนวน ๑๒ คน ปี ๒๕๔๘ จำนวน ๒๔ คน
ปี ๒๕๔๙ จำนวน ๒๒ คน และปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒๕ คน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี
นอกจากนี้ มีนักเรียนที่เรียนจบจาก “ครูตู้” และเรียนจบถึงระดับปริญญาโท หรือได้รับทุนพระราชทาน
เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา มีความสามารถจนได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหาทางกฎหมาย
โดยการแถลงด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ ร่วมกับ ๒๐ มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ชาวเขาเผ่าลีซอก็สามารถ
ประสบความสำเร็จ โดยศึกษาต่อในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือนักเรียน
ในโรงเรียนปอเนาะ ที่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ประมาณ ๑๐๐ คน สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ได้ถึง ๗๐ คน
สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่าการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ “ครูตู้” ไม่ได้ด้อยกว่าการเรียน
ในชั้นเรียนปกติ อีกทั้งการเรียนจากโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่วยฝึกฝนให้เด็กนักเรียนรู้จัก “รักดี รักเรียน”
ตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง พึ่งตนเอง
สามารถจับใจความ ย่อความ เก็บสาระของบทเรียน และ
ติดตามเรื่องราวได้ และจากการที่ทางโรงเรียนวังไกลกังวล
ได้กำหนดวิชาชีพให้เป็นวิชาเลือก เช่น การโรงแรม
ช่างกล ฯลฯ ช่วยให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖
สามารถช่วยตนเองได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องเป็นภาระกับผู้ปกครอง
และสังคม
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการส่งเสริมนักเรียนให้รักความเป็นไทย
ซึ่งเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วง คือ กิริยามารยาท จริยธรรม คุณธรรม มิใช่การเรียนหนังสือ
เพียงอย่างเดียว แต่นักเรียนควรรู้จักช่วยเหลือตนเองและสังคม มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จัก
กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยเน้นให้นักเรียนรู้ทันเทคโนโลยีและเรียนรู้ความเป็นไทยควบคู่ไปด้วย
จึงจะสามารถเติบโตเป็นคนไทยที่สมบูรณ์แบบ ช่วยพัฒนาประเทศชาติได้ต่อไป
110
บทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี และเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
ตั้งมูลนิธิพระดาบส... สร้างอาชีพ... พัฒนาผู้ด้อยโอกาส
ในการพัฒนาคนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการมองคนไทยว่า
จะทำอย่างไรให้ราษฎรของพระองค์พ้นทุกข์ มีความสุข สามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ได้มี
พระราชดำริตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่เรียนเก่งที่สุดไปศึกษาวิชาการที่ดี
ที่สุดของโลก ได้แก่ วิชาการแพทย์ และสาขาอื่นๆ ในระยะต่อมา เพื่อกลับมารับใช้ประเทศชาติ ส่วนกลุ่ม
ที่พ้นวัยเรียนแล้ว แต่ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีสัมมาอาชีวะอะไร ทรงรับสั่งว่า น่าจะให้ได้รับการฝึกวิชาช่าง
สักสาขาหนึ่ง เพื่อจะได้ช่วยตนเองและครอบครัว เมื่อสามารถช่วยครอบครัวได้แล้วก็จะเป็นกำลังในการ
ช่วยสังคม เด็กกลุ่มนี้สู้ชีวิตด้วยตนเองด้วยความยากลำบาก อาจจะทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งามให้กับสังคม
พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนชีวิตของคนเหล่านั้นให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของโรงเรียนพระดาบส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้โรงเรียนพระดาบสรับนักเรียนรุ่นแรก
ในปี ๒๕๑๘ จำนวน ๖ คน เพื่อเรียนช่างวิทยุ ซึ่งสำเร็จการศึกษาในปี ๒๕๑๙ โดย พลตำรวจตรี สุชาติ
เผือกสกนธ์ เป็นผู้รับสนองพระราชดำริ ซึ่งขณะนั้น ท่านเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เนื่องจาก
สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญในงานช่างต่างๆ จึงได้ขอที่ไร่กว่าๆ จาก
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณตรงข้ามหอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ ตั้งโรงเรียนพระดาบสขึ้น
111
ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์รองประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ และ
พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ เป็นประธานกรรมการ
เหตุใดใช้ชื่อ “พระดาบส”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานนามโรงเรียนว่า “พระดาบส” โดย
ทรงเปรียบเทียบกับเรื่องจันทโครพ ที่เข้าไป
เรียนรู้กับพระฤาษีในป่า เข้ามาอยู่มากินเรียนวิชา
กับพระดาบส เพราะผูกพันกัน ไม่ใช่สอนเฉพาะ
วิชาช่าง แต่ให้วิชาความดีด้วย เมื่อออกไปแล้ว
จะได้เป็นคนดี วิชาระเบียบวินัย โทษของอบายมุข
ถ้าสามารถเรียนจนจบ เรามั่นใจว่าศิษย์พระดาบส
จะเป็นคนดี แต่ทุกปีก็จะมีคนปรับตัวไม่ได้ เช่น
อดบุหรี่หรือเหล้าไม่ได้ ถูกหักคะแนน ต้องออกไปประมาณปีละ ๕ - ๑๐ คน
โรงเรียนพระดาบสเปิดกว้างสำหรับผู้ด้อยโอกาส ที่มีความตั้งใจจริง
โรงเรียนพระดาบสเปิดให้การศึกษาโดย
ไม่จำกัดเพศ วัย ศาสนา ถิ่นฐานที่อยู่ หรือวุฒิของผู้ที่
จะเข้ามาเป็นศิษย์พระดาบสแต่อย่างใด เพียงอ่านออก
เขียนได้ก็เพียงพอ โรงเรียนจะมีการอบรมวิชาชีพควบคู่
ไปกับการอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้
ศิษย์พระดาบสสามารถดำเนินชีวิตในทางที่ชอบที่ควร
เป็นผู้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีความประพฤติ
เรียบร้อยเป็นพลเมืองดี เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์
ให้สังคมและประเทศชาติต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าต้องไม่สร้างเงื่อนไขในการรับเข้า เพราะถ้าสร้าง
เงื่อนไขมาก คนจนจะไม่มีสิทธิ์เข้ามาเรียนได้ ทรงรับสั่งว่าไม่ใช่มาเรียนเพราะพ่อแม่ให้มา แต่มาเพราะ
ตนเองต้องการจะเรียน เพราะเป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบ ตรงนี้คือเงื่อนไขหลักของเรา ปัจจุบันมีผู้สำเร็จ
การศึกษาจากโรงเรียนพระดาบส และออกไปประกอบอาชีพต่างๆ แล้วกว่า ๓,๐๐๐ คน
วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนพระดาบส ซึ่งรับสนองมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว มีเป้าหมายในการฝึกช่างฝีมือ และฝึกให้เป็นคนดี ศิษย์พระดาบสมีจุดเด่น คือ เป็นผู้มี
อุปนิสัยดีและมีความสามารถ มีความขยัน และรับผิดชอบต่องาน
112
เด็กที่มาเรียนมีพื้นฐานความรู้และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เราไม่จำกัดเรื่องความรู้
พื้นฐาน เพียงอ่านออกเขียนได้ก็รับมาสอนเสริม เด็กส่วนใหญ่จบมัธยมปีที่ ๓ หรือปีที่ ๖ แต่เนื่องจาก
ความยากจนและเกิดวิกฤตในชีวิตจึงสมัครเข้าเรียน ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุระหว่าง
๑๘-๓๕ ปี เคยรับอายุเกิน ๓๕ ปี ปรากฏว่าเรียนไม่ไหว ขณะนี้รับปีละ ๑๕๐ คน อยู่ประจำที่โรงเรียน
เราเคยรับนักเรียนแบบไป-กลับ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกินเหล้า สูบบุหรี่ ก็คิดว่าลงทุนให้อยู่
ประจำดีกว่า เพื่อสนองตามแนวพระราชดำริ
โครงการหลวงได้คัดเลือกเด็กชาวเขาให้เข้ามาเรียน
เป็นประจำ สำเร็จการศึกษาไปหลายรุ่นแล้ว หรือผู้ที่ประสบภัยสึนามิ
เราก็ไปรับมาเรียน เช่น รายหนึ่ง สามีกับลูกเสียชีวิต เหลือลูกคนเดียว
ฝากยายไว้ ตอนที่เราไปชวนมาเรียนยังอยู่ในสภาวะที่ไม่สมบูรณ์
ทำใจไม่ได้ ต้องให้จิตแพทย์ช่วยดูแลอยู่ประมาณ ๒ เดือน จึงสามารถ
ปรับตัวได้ และเรียนจบได้งานโรงแรมใกล้ๆ บ้าน และสามารถเลี้ยงดูลูกได้
อีกรายหนึ่งเป็นพี่น้องอยู่จังหวัดลพบุรี เป็นลูกทหารยศนายสิบ พ่อไปปฏิบัติราชการที่ ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ แล้วถูกฆ่าตาย เมื่อพ่อซึ่งมีสิทธิอยู่บ้านหลวงเสียชีวิตลง ทำให้ลูกไม่มีที่อยู่ มีนายทหารนำมา
ฝากเข้าเรียน ซึ่งจบการศึกษาและมีงานทำแล้ว
๑ ปี... กับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า
ขณะนี้โรงเรียนพระดาบส มีการสอน ๘ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิชาชีพช่างไฟฟ้าวิทยุโทรทัศน์
หลักสูตรวิชาชีพช่างยนต์ หลักสูตรช่างอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรวิชาชีพเกษตรพอเพียง หลักสูตรช่างซ่อม
บำรุง หลักสูตรเคหบริบาล หลักสูตรช่างไม้เครื่องเรือน และหลักสูตรช่างเชื่อม
สำหรับช่างยนต์นั้น เรามีโรงฝึกงานดูแลรถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องจักรกลเกษตร
ส่วนช่างไฟฟ้านักเรียนจะต้องสามารถแก้ไขระบบไฟฟ้าและเดินสายไฟได้ ช่างคอมพิวเตอร์ สามารถ
ซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ช่างซ่อมบำรุง ๒ กลุ่มสาขา เด็กที่เรียนจบแล้ว สามารถดูแลซ่อมบำรุง
ในหมู่บ้านจัดสรร บริษัทใหญ่ๆ โรงเรียนต่างๆ และหม้อน้ำในบริษัทใหญ่ๆ ส่วนสาขาช่างเชื่อมเริ่มเปิด
มาได้ ๒-๓ ปี แล้ว และได้ส่งนักเรียนไปฝึกในบริษัทญี่ปุ่น เมื่อกลับมาได้เป็นครูช่างเชื่อม ปรากฏว่าช่างเชื่อม
ของเราเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรใหม่คือช่างไม้เครื่องเรือน
ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริว่า
ช่างนี้นับวันจะหายาก และเป็นที่ต้องการ ดังนั้นจึงเปิดสอนเพื่อจะได้
ถ่ายทอดฝีมือต่อไป ศิษย์ของเรามีความสามารถในด้านช่างอย่าง
แท้จริง เคยชนะการประกวด และได้งานทำทุกคน
113
ติวเข้มความรู้เรื่องช่าง... เสริมการพัฒนาจิตใจ
ในช่วง ๑ ปี แบ่งการเรียนออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ คือ ๓ - ๔ เดือนแรก เรียนรู้ช่างพื้นฐานทุกสาขา
หมุนเวียนกันไปตามสถานีช่างต่างๆ ให้ได้รับความรู้ที่สามารถ
นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งถือว่าตรงนี้เป็นประโยชน์สำหรับชีวิต
สมมุติว่าเขาเป็นช่างซ่อมบำรุง ถ้าสุขภัณฑ์ในหมู่บ้านเสีย
ต้องซ่อมได้ สามารถเดินสายไฟได้ ซึ่งทำให้นายจ้างพอใจมาก
เด็กจะตระหนักได้ว่า วิชาช่างทุกสาขาเชื่อมโยงกัน ซึ่งควร
ให้ความสำคัญในการผลิตแรงงานสาขาช่างให้มาก เพื่อรองรับการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม ๘ เดือนที่เหลือ
จะศึกษาตามสาขาในหลักสูตร โดยระยะที่ ๒ ใน ๖ เดือนแรกจะเรียนทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องทดลอง
ส่วนระยะที่ ๓ คือ ๒ - ๓ เดือนสุดท้าย จะออกไปเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยการฝึกงานที่โรงงาน
หรือบริษัทต่างๆ
นอกจากนี้ ในช่วง ๔ เดือนแรก นักเรียนจะได้รับการปรับฐานความรู้ และพัฒนา
ในด้านจิตใจ โดยได้จัดให้มีการเรียนวิชาศีลธรรม จริยธรรม ในวันศุกร์และวันเสาร์ ส่วนวันอาทิตย์
ฝึกให้เป็นผู้มีจิตอาสา โดยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น ทำความสะอาดลานวัดใกล้ๆ อาทิ
วัดราชาธิวาส เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักคืนสู่สังคม ส่วนวันอื่นๆ ก็เรียนหนังสือตามปกติ
หากถามว่าทำไมลูกศิษย์พระดาบสจึงแตกต่างจากศิษย์จากสถาบันอื่น นายจ้างจะให้เหตุผลว่า
ศิษย์พระดาบสได้รับการกล่อมเกลาในเรื่องอุปนิสัย ทั้งในเวลาเรียนหนังสือ และขณะรับประทานอาหาร
ร่วมกัน ดาบสอาสาจะสอดใส่เรื่องวินัยและเรื่องพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ เพื่อสร้างจิตสำนึกว่า ความรู้ ประสบการณ์ และหลักปฏิบัติตนต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มา เนื่องจาก
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เด็กจะต้องรับทราบว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องประพฤติตนเป็นคนดี
และให้ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา เมื่อสำเร็จการศึกษา
จะได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมี
พระเมตตา ซึ่งช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์พระดาบสและครอบครัวเป็นอย่างมาก
จบแล้วพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานของประเทศ... พระราชทานทุนเรียนต่อ
หลักสูตรการเรียน ๘ สาขานี้ถือว่าเป็นสาขาที่ประเทศชาติต้องการ โดยเฉพาะในระดับ
ช่างฝีมือ ซึ่งคนไทยมีความสามารถด้านนี้มาก เมื่อเรียนจบหลักสูตรของโรงเรียนพระดาบสแล้ว ได้สนับสนุน
ให้ไปสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของกระทรวงแรงงาน เพื่อพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานของประเทศ
(Thailand Quality Qualification Standard) ซึ่งสอบได้ทุกคน โดยทุกปีได้พยายามส่งเสริมให้นักเรียน
ประมาณ ๑๕๐ คน ผ่านการทดสอบนี้
114
ทั้งนี้ นักเรียนของเราที่มาจากครอบครัวยากจน
ประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐ ได้มีโอกาสเข้าทำงานในบริษัทเอกชน และ
นักเรียนที่มีความตั้งใจและเรียนดีเป็นพิเศษ ร้อยละ ๓-๔ ได้รับ
การคัดเลือกจากคณะกรรมการให้ได้รับพระราชทานทุนการศึกษา
เพื่อเรียนต่อ ซึ่งสำเร็จการศึกษาแล้วหลายคน และบางส่วนได้กลับไป
ช่วยงานทางบ้าน
โครงการลูกพระดาบส และการขยายการเรียนการสอน
ได้มีการจัดตั้ง “โครงการลูกพระดาบส” ขึ้น
ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็น
ศูนย์กลางการเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีทาง
ด้านการเกษตรสมุนไพร การใช้พลังงานทดแทน
และอื่นๆ จัดการเรียนการสอนแก่ศิษย์พระดาบส
ในหลักสูตรการเกษตรพอเพียงซึ่งมีทั้งเกษตร ปศุสัตว์
ประมงน้ำกร่อย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เพาะเห็ด ปลูกผัก
ไฮโดรโปนิกส์ (แบบไร้ดิน) หลักสูตรเคหะบริบาล
สำหรับสตรี ซึ่งแยกเป็น ๒ ด้าน คือ การดูแลเด็กเล็กและดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตรนี้เริ่มมาประมาณ ๕ ปีแล้ว
ได้ผลดีมาก และหลักสูตรช่างไม้เครื่องเรือน นอกจากนี้ ยังรับประชาชนทั่วไปมาเรียนแบบเช้าไปเย็นกลับ
เพื่อฝึกอาชีพเสริม เมื่อจบแล้วจะมีอุปกรณ์ให้เพื่อนำไปประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งโครงการฝึกอาชีพจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางโรงเรียน
พระดาบส ที่จังหวัดยะลา โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เห็นว่าควรจะ
ให้โอกาสเด็กหนุ่มสาวชาวมุสลิม หรือชาวไทย-มุสลิม ได้รับการฝึกอาชีพ เพื่อสร้างงานและรายได้
โดยทางมูลนิธิพระดาบสส่งครูไปช่วยสอน และส่งนักเรียนให้มาดูงานที่กรุงเทพฯ ด้วย สำเร็จการศึกษา
รุ่นแรกเมื่อปี ๒๕๕๓ จำนวน ๓๙ คน ใน ๒ หลักสูตร คือช่างยนต์และช่างไฟฟ้า และได้งานทำแล้วทุกคน
ขณะนี้รับรุ่นที่ ๒ แล้ว
ศิษย์พระดาบสเรียนจบอย่างมีคุณภาพ... เก่งและดี
เมื่อทบทวนถึงค่าใช้จ่ายประมาณ ๖ - ๗ หมื่นบาทต่อคนต่อปี นับว่าไม่แพง เพราะได้
เปลี่ยนชีวิตคนให้ดีขึ้นปีละประมาณ ๑๕๐ คน ซึ่งเงินจำนวนนี้เมื่อเข้าทำงานเพียง ๑ ปี ก็นับว่าคุ้มค่าแล้ว
ที่เหลืออีก ๒๐-๓๐ ปี ถือเป็นกำไร เราเคยสำรวจอัตราเงินเดือนของเด็กที่สำเร็จออกไปทำงานได้รับ
เงินเดือนประมาณ ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทเศษ ซึ่งนับว่าดีมากสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานอะไรมาก่อนเลย
จึงนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก
115
เราจ้างครูวุฒิปริญญาตรีด้าน
วิศวกรรมศาสตร์จากต่างประเทศมาสอน
หลักสูตรช่างเชื่อมในโรงงาน ขณะที่ไม่จำเป็น
ต้องใช้แรงงานวุฒิในระดับนั้น ดังนั้น
จึงควรประสานเชื่อมโยงกับโรงงานต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรแล้ว
ได้ทำงาน นอกจากนี้ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทาง
ด้านช่างไม้เครื่องเรือน ยังเป็นที่ต้องการของ
ตลาดแรงงานอย่างมากด้วย ซึ่งทำให้เราต้อง
ให้ความสำคัญกับการผลิตแรงงานสายช่าง
อย่างมีคุณภาพ มีสมรรถนะความสามารถ และมีความอดทน ขยันหมั่นเพียรในการฝึกฝนควบคู่กัน
ไปด้วย
โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ส่งนายตำรวจมาช่วยในเรื่องการฝึกวินัย และการปรับปรุง
อุปนิสัยให้มีความอดทน อดกลั้น ซึ่งส่งผลดีต่อการฝึกงาน เมื่อคราวส่งไปฝึกที่โรงงานในประเทศญี่ปุ่น
จึงได้รับความชื่นชมมาก เนื่องจากญี่ปุ่นให้ความสำคัญในเรื่องระเบียบวินัย และเมื่อรวมในเรื่อง
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เข้าด้วยแล้ว ทำให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพมากขึ้นเพราะสามารถ
ทำงานอย่างมีความสุข
ดาบสอาสา... เครือข่ายการเรียนการสอน
ระบบครูอาสามี ๒ รูปแบบ คือ แบบที่ ๑
การสร้างเครือข่ายพันธมิตรช่วยตั้งแต่ต้น เช่น สถาบัน
เทคโนโลยีพระมงกุฎเกล้าพระนครเหนือ ช่วยดูแล
อุปกรณ์การเรียนการสอน ส่งอาจารย์มาช่วยเป็น
ประธานหลักสูตร หรือสอนด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุวรรณภูมิ ส่งอาจารย์และเครื่องมือมาช่วย และสถาบัน
พัฒนาฝีมือแรงงานและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ ส่งอาจารย์มา
ช่วยสอน เป็นต้น
อีกประเภทหนึ่ง คือ ผู้ที่ทำงานอยู่ตามกระทรวง ทบวง กรม หรือทำงานตามบริษัทห้างร้าน
หรือครู อาจารย์ที่เกษียณอายุแล้ว สมัครมาเป็นพระดาบสอาสา ผู้อำนวยการโรงเรียนช่วยกันคัดเลือกว่า
ใครจะเข้ามาสอนวิชาอะไรบ้าง นอกจากวิชาชีพ ยังมีวิชาพัฒนาทักษะชีวิต วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันของชาติ ศีลธรรม พุทธธรรม โดยใช้หลักสูตรนักธรรมตรี
116
งบประมาณจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ และผู้มีจิตศรัทธา
ปัจจุบันมูลนิธิพระดาบส ต้องใช้งบประมาณในเรื่อง
ของวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือจำนวนมากต่อผู้ที่เข้ามาเรียน
ในโครงการมูลนิธิพระดาบสแต่ละราย ซึ่งในแต่ละปีมูลนิธิ
พระดาบสสามารถรับศิษย์พระดาบสได้ประมาณ ๑๕๐ คน
ต่อปี งบประมาณที่ใช้จ่ายนั้นส่วนใหญ่ได้รับมาจาก
ทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นหลัก และอีกส่วนหนึ่งมาจาก
ผู้มีจิตศรัทธา ห้างร้านต่างๆ ช่วยเหลือสงเคราะห์
ทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และครูฝึก ส่วนค่าใช้จ่ายประจำได้รับบริจาคเป็นเงินสด รวมทั้งได้รับบริจาค
เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ คุณชุมพล พรประภา และครอบครัว ได้สร้างอาคารเรียนให้
๑ หลัง บริษัทตะวันออก ฮอลลีเมอร์ ในกลุ่มวิทูรย์และปกรณ์ สร้างอาคารให้ ๑ หลัง เป็นอาคารเรียน
ของเด็กผู้หญิง พร้อมโรงอาหารและหอพักด้วย
ทั้งนี้ มูลนิธิฯ จะต้องบริหารการใช้จ่ายให้เพียงพอ เพราะต้องดูแลค่าใช้จ่ายให้ผู้ที่เข้ามาเรียน
ตั้งแต่ต้นจนจบ
โรงเรียนพระดาบส... ต้นแบบการพัฒนาคนและสังคม
ควรมีการขยายผลการเรียนการสอนในแนวทาง
ของโรงเรียนพระดาบส อาจดำเนินการโดยภาครัฐหรือ
ภาคเอกชน เพื่อฝึกช่างฝีมือต่างๆ ที่ตลาดแรงงานต้องการ
บริษัทใหญ่ๆ ที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate
Social Responsibility : CSR) อาจพิจารณาเปิดโรงเรียน
ลักษณะดังกล่าวในถิ่นทุรกันดาร เพื่อผลิตบุคลากรด้าน
อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม โดยสร้างเครือข่ายกับครูผู้ฝึก
ซึ่งทำได้ไม่ยากในการออกแบบระบบโรงเรียนในแนวทางของโรงเรียนพระดาบสในพื้นที่ต่างๆ เพื่อพัฒนาคน
ให้มีอาชีพ เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างมั่นคง เป็นการคืนกำไรให้กับสังคม
ทรงมองประชาชนเสมือนลูกหลาน...
ทรงให้ความรัก ความห่วงใย และความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองประชาชนทุกคนเสมือนลูกหลาน พระองค์ทรง
ให้ความรัก ความห่วงใย ทรงให้ความสำคัญกับลูกทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในเมือง หรือบนดอย ไม่ว่าจะยากดีมีจน
ไม่ว่าจะฉลาดมากหรือน้อย ไม่ว่าจะมีโอกาสมากโอกาสน้อย ทำให้พระองค์มีพระราชดำริว่าจะทำอย่างไร
ให้ลูกแต่ละคนสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้สูงสุด พึ่งตนเองได้ ผู้ที่มีพื้นฐานที่ดีมากอยู่แล้วก็ขอให้ต่อยอด
117
ขึ้นไปอีก เพื่อกลับมาช่วยคนอื่นช่วยสังคม เช่น ลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นเจ้าของโรงงาน ๔ โรงงาน ในพื้นที่
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และสำนึกอยู่เสมอว่าที่ได้รับโอกาสชีวิตอย่างนี้ เพราะว่าโรงเรียน
พระดาบสมอบให้ จึงได้ตั้งแหล่งเรียนรู้คล้ายๆ โรงเรียนพระดาบสขึ้นในพื้นที่
ด้วยพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงทราบว่าจะช่วยประชาชน
แต่ละกลุ่มและแต่ละพื้นที่อย่างไร ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ลูกทุกคนสามารถช่วยตนเอง ครอบครัว
และช่วยสังคมได้ นับเป็นบุญของคนไทยที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริ
โครงการต่างๆ มากมาย เพื่อให้ลูกแต่ละคนได้รับการพัฒนาสูงสุด และพระองค์ทรงหวังว่า ลูกบางคน
เมื่อช่วยตนเองได้แล้วจะสามารถช่วยผู้อื่นต่อไป ซึ่งตรงนี้จะทำให้ประชาชนของพระองค์มีความรู้
รัก สามัคคี
๓. แนวพระราชดำริด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำริว่า การให้หรือการ
สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับ
ความทุกข์ยากลำบาก จะช่วยทำให้
โลกนี้มีความสงบร่มเย็น และช่วยให้
ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม
ได้ด้วยความสุข โดยทรงมีหลักการ
ในการพระราชทานความช่วยเหลือว่า
“ให้ เพื่อให้ช่วยตนเองได้” ดังนั้น
พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นส่งเสริมฐานะ
ความเป็นอยู่ของราษฎรให้ “พออยู่
พอกิน” และสามารถพึ่งตนเองได้
ซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีความมั่นคงในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง
และมีความมั่นคงในที่สุด
นอกจากนี้ หากราษฎรประสบความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ พระองค์จะพระราชทาน
ความช่วยเหลือในทันทีทันใด จนอาจกล่าวได้ว่า เมื่อเกิดความทุกข์แก่ราษฎรขึ้น ณ ที่ใด พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวจะทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้น หรือหากเสด็จฯ ไปช่วยเหลือด้วยพระองค์เองไม่ได้ จะทรงมี
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ทรงไว้วางพระทัยเดินทางไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันการณ์
โดยมีรับสั่งว่า “ไปให้ไว ไปให้ถึง ไปให้เร็ว”
สำหรับพระราชดำริด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ อาทิ
118
๓.๑ โรงงานแขนขาเทียมพระราชทาน โดย
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งขึ้น เพื่อให้
บริการอวัยวะแขนขาเทียมสำหรับทหารพิการ ทั้งนี้ ในระหว่าง
ฝึกหัดการใช้อวัยวะแขนขาเทียม และฟื้นฟูสมรรถภาพ จะได้
พิจารณาความถนัดและความต้องการของผู้ป่วย เพื่อฝึกอาชีพ
ต่อไป โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่ทหารผ่านศึกพิการ
ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วย
๓.๒ งานคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรเจ็บป่วยที่ยากจน
ซึ่งทรงพบในระหว่างเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ รวมถึงผู้ที่หน่วยแพทย์พระราชทาน หน่วยแพทย์
ที่ตามเสด็จฯ แพทย์หลวงหรือผู้แทนพระองค์พบ หรือผู้ที่มีหนังสือมาขอพระราชทานการรักษาทั่วไป
ให้ความช่วยเหลือจัดส่งคนไข้เข้าโรงพยาบาล และติดตามผลระยะยาวไปจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา
๓.๓ มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิสายใจไทย
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๑๘ เพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ
หรือพิการจากการปฏิบัติราชการสนามทั่วประเทศ
เยี่ยมเยียนให้กำลังใจในระหว่างการรักษา ช่วยติดตาม
ทวงถามสิทธิราชการให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิล่าช้า สอบถาม
ทุกข์สุข ให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพหรือการศึกษาแก่
ทหารพิการและครอบครัว มอบเงินช่วยเหลือแก่ครอบครัว
ผู้เสียชีวิต และสำหรับผู้บาดเจ็บทุพพลภาพให้รับเป็นรายเดือนตลอดชีพ
๓.๔ งานฎีการ้องทุกข์ ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากเฝ้าคอย
รับเสด็จฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาอยู่เสมอ จนถึงปัจจุบันยังคงมีราษฎรจำนวนมากทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
ผ่านสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประสานหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น ๆ
ตรวจสอบข้อมูล หากพบว่าราษฎรนั้นได้รับความเดือดร้อน ก็จะให้ความช่วยเหลือคลี่คลายปัญหาหรือ
บรรเทาความเดือดร้อนต่อไป
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการ
จัดทำ “โครงการพระราชทานความช่วยเหลือ” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
เพิ่มเติมจากขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ซึ่งหากพบว่าราษฎรรายใดยังมีความเดือดร้อนอยู่ จะส่งให้คณะกรรมการ
โครงการฯ พิจารณาให้ความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนตามหลักเกณฑ์ อันเป็นการพระราชทาน
ความช่วยเหลือโดยตรง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในที่สุด นอกจากนี้ หากพบว่าราษฎร
119
กลุ่มใดได้รับความเดือดร้อน ขาดแคลนปัจจัยในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ แม้ว่าจะมิได้ทูลเกล้าฯ
ถวายฎีกา โครงการฯ จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
ความช่วยเหลือต่อราษฎรที่ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์
ในเรื่องต่างๆ ทรงหาทางให้ราษฎรที่ได้รับการช่วยเหลือ
เหล่านี้รู้จักช่วยเหลือตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไปด้วย
การที่มีราษฎรจำนวนมากทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา แสดงถึงความเชื่อมั่นและความศรัทธาที่มีต่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตระหนักในน้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ที่พระราชทาน
ความช่วยเหลือต่อราษฎรของพระองค์ ประดุจบิดาที่ดูแลบุตรด้วยความรักและเมตตาอย่างสม่ำเสมอ
ตลอดมา โดยไม่เคยทรงเลือกว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ทั้งยังแสดงถึงความไม่มีช่องว่างระหว่าง
“พระเจ้าแผ่นดิน” กับ “ราษฎร” ซึ่งไม่มีแผ่นดินใดในโลกนี้เสมอเหมือน
๓.๕ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งขึ้น สืบเนื่องจาก
มหาวาตภัยพายุโซนร้อน “แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๐๕
มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๑,๐๐๐ คน และทำความเสียหายแก่
ภาคใต้ถึง ๑๒ จังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นห่วงผู้ประสบภัย และทรงติดต่อขอเครื่องบิน
จากกองทัพอากาศให้กรมประชาสงเคราะห์เดินทาง
ไปช่วยเหลือประชาชนโดยด่วน รวมทั้งทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อส. พระราชวังดุสิต ประกาศเชิญชวนให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์และ
สิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทรงรับและพระราชทานสิ่งของด้วยพระองค์เองเป็นเวลา
เดือนเศษ นับเป็นการใช้สื่อวิทยุในกิจการลักษณะนี้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้มีผู้บริจาคทรัพย์ถึง ๑๑ ล้านบาท
และสิ่งของมูลค่าประมาณ ๕ ล้านบาท ทรงให้จัดและขนส่งสิ่งของไปบรรเทาภัยแก่ประชาชนตลอดเวลา
และจัดซ่อมแซมบ้านและที่พักให้ผู้ประสบภัย รวมทั้งเครื่องมือประกอบอาชีพ หลังจากการให้ความช่วยเหลือ
บรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยเฉพาะหน้าแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินบริจาค
ส่วนที่เหลือจำนวน ๓ ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้ง “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” โดยทรงรับไว้
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบสาธารณภัย
120
ทั่วประเทศ และให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา
แก่ลูกหลานผู้ประสบภัย โดยพระราชทานทุน
การศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีเยี่ยมในโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ฯ และเด็กกำพร้าหรืออนาถา
ที่ครอบครัวประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ จนจบ
ชั้นสูงสุด รวมทั้งการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุง
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ฯ ตามความเหมาะสม
ซึ่งขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศรวม ๔๔ แห่ง ดำเนินการ
ให้มีการป้องกันสาธารณภัยทั่วประเทศ ตลอดจนให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับ
ความทุกข์ยากเดือดร้อนประการอื่น ซึ่งคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ พิจารณาเห็นสมควร และได้รับ
ความเห็นชอบจากมูลนิธิฯ
นอกจากนี้ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กระทรวงศึกษาธิการ สร้างโรงเรียน
ประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม ๑๒ โรงเรียน ใน ๖ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งภายหลัง พระราชทานชื่อว่า
“โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ถึง ๑๒” ตามลำดับ
ในโอกาสนี้ นายกองเอก ดร.ดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ประธานกรรมการ
บริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์
ได้ให้เกียรติสำนักงานฯ โดยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการน้อมนำแนวพระราชดำริการจัดตั้งมูลนิธิฯ
ไปปฏิบัติ บทบาทและการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ตลอดจนได้กรุณาให้คณะทำงานจัดทำหนังสือฯ
ร่วมคณะในการเดินทางไปช่วยเหลือและแจกถุงยังชีพพระราชทานแก่ผู้ประสบอุทกภัย
ครั้งใหญ่ ณ จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียดดังนี้
121
บทสัมภาษณ์ นายกองเอก ดร.ดิสธร วัชโรทัย
รองเลขาธิการพระราชวัง
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ บุรุษไปรษณีย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเหมือน
“ไปรษณีย์” มีหน้าที่นำพาน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรง
เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระมหากรุณาธิคุณ และความห่วงใยประชาชน
ไปพระราชทานแก่ผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ เช่น น้ำท่วม พายุ
ดินถล่ม ไฟไหม้ อากาศหนาวจัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงติดตามเหตุการณ์อย่าง
ใกล้ชิด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิฯ จัดหน่วยสงเคราะห์
เคลื่อนที่นำสิ่งของพระราชทาน อาทิ เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และเป็น
ประโยชน์กับประชาชนผู้ประสบภัยแต่ละประเภท ออกไปร่วมปฏิบัติงาน
กับส่วนราชการต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนที่จะฟื้นฟูการประกอบอาชีพให้กลับคืนเช่นเดิม
หรือดีกว่าเดิม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในระยะยาว โดยการพิจารณาสงเคราะห์แก่เด็กที่ประสบ
สาธารณภัยให้ได้รับทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ด้วย
122
เวลาไปพบประชาชนผมจะบอกอยู่ตลอดเวลาว่า เราไม่ใช่ผู้แทนพระองค์ แต่เป็น
“บุรุษไปรษณีย์” คือ เรานำความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปสู่ประชาชนที่ได้รับ
ความเดือดร้อน เป็นหน้าที่ของบุรุษไปรษณีย์ที่มีเจ้านายพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
พระบรมราโชบาย “ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลัน ไปให้ความอบอุ่น”
มูลนิธิฯ จึงโชคดีที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่นี้
โดยยึดมั่นในพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเรื่องการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ตกทุกข์ได้ยากว่า “ต้องไปโดยฉับพลันและรวดเร็ว
ที่สุด ไปให้ความอบอุ่น ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการ
ช่วยเหลือ และมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อไป”
เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าผู้ประสบภัย
เหมือนคนที่กำลังจะจมน้ำ เขาย่อมตะเกียกตะกายไขว่คว้าหาอะไรยึดเหนี่ยว เพื่อเอาชีวิตรอด มูลนิธิฯ
ก็เปรียบเสมือน “พระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่ยื่นเข้าไปช่วยเหลือราษฎร ให้ได้
คว้าพระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอันดับแรก เพื่อให้พ้นจากภัยนั้น
“พระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดิน” ซึ่งคือมูลนิธิฯ เป็นสิ่งแรกที่ดึงคนขึ้นจากน้ำ และพระหัตถ์
เดียวกันนี้จะส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยียวยา ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะกรรมการ
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๖ ความตอนหนึ่งว่า
“...ให้ไปให้ความอบอุ่น ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลัน
ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือ มีกำลังจะปฏิบัติงานต่อไป... การช่วย
ผู้ประสบภัยนั้น จะต้องช่วยในระยะสั้น หมายความว่า เป็นเวลาที่ฉุกเฉินต้อง
ช่วยโดยเร็ว และต่อไปก็จะต้องช่วยให้ต่อเนื่อง... ส่วนเรื่องการช่วยเหลือ
ในระยะยาวก็มีความจำเป็นเหมือนกัน... เป็นผลว่าเขาได้รับการดูแลเหลียวแล
มาจนกระทั่งได้รับการศึกษา ที่สามารถทำมาหากินได้โดยสุจริตและโดยมี
ประสิทธิภาพ เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ...”
ดังนั้น ทุกครั้งเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ใดในประเทศไทยก็ตาม เป็นภาพคุ้นตาที่จะเห็น
เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ตลอดจนอาสาสมัครเข้าไปมอบถุงยังชีพพระราชทาน และให้ความช่วยเหลือประชาชน
เป็นหน่วยงานแรกๆ ซึ่งสะท้อนถึงการยึดมั่นในพระบรมราโชบายของพระองค์ และการส่งสรรพกำลังไปสู่
ความช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ผ่านความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ และเพื่อให้งานสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
123
ประจำจังหวัดนั้นๆ โดยมูลนิธิฯ สนับสนุนเงินปีละ ๕ แสนบาท ยามมีสาธารณภัยจะได้ดูแลช่วยเหลือได้
อย่างรวดเร็ว
ถุงยังชีพพระราชทาน... น้ำพระทัยและความเอื้ออาทร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แม้ว่ามูลค่าของใน “ถุงยังชีพพระราชทาน” ที่ผู้ประสบภัยได้รับไป
จะเพียงแค่ประทังชีวิต แต่สิ่งที่เขาเหล่านั้นได้รับคือ ความปรารถนาดี
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเอื้ออาทรและพระราชทาน
กำลังใจแก่ผู้ประสบภัย จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง
ที่ครั้งหนึ่งในชีวิต ขณะที่ประสบภัยและได้รับความเดือดร้อน จะได้รับ
ถุงยังชีพพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทา
ความเดือดร้อนในเบื้องต้น จากความห่วงใยและน้ำพระทัยของ
พระองค์ที่ทรงไม่ทอดทิ้งประชาชน เวลาคนหมดหนทาง พอเขาได้
อะไรมาค้ำชู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าแผ่นดิน
ก็จะมีแรงมาสู้ต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นมากกว่าพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวม
จิตใจและที่ยึดเหนี่ยวของทุกคน ผมจะบอกกับราษฎรว่า มูลค่าสิ่งของนั้นน้อยนิด แต่น้ำพระทัยเปี่ยมล้น
ไปด้วยพระเมตตาที่พระราชทานให้กับพวกเรา
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของมูลนิธิฯ
สำหรับการเลือกว่าจะซื้ออะไรมาใส่
ถุงยังชีพนั้น เราพิจารณาอย่างถ้วนถี่ เพื่อให้เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ประสบภัยมากที่สุด โดยเน้นของที่สามารถ
บริโภคได้ทันทีและเก็บได้นานพอสมควร สำหรับขั้นตอน
การแจกสิ่งของพระราชทาน ผมได้กราบบังคมทูล
อย่างชัดเจนถึงวิธีการแจกของว่าเหตุใดจึงไม่จัดสิ่งของ
ใส่ถุงไปตั้งแต่แรก จะเห็นว่าเวลาที่มูลนิธิฯ ไปแจกถุงยังชีพ
พระราชทาน จะวางสิ่งของต่างๆ ที่จะแจกไว้เป็นจุดๆ
เพื่อให้ทุกคนได้เห็นและทราบว่าของที่นำไปแจกนั้นมีทั้งหมดกี่อย่าง แต่ละอย่างที่ให้ไปนั้นมีจำนวนเท่าไร
และซื้อมาจากไหน ซึ่งสำคัญมาก หากของไม่มีคุณภาพก็สามารถนำไปขอเปลี่ยนกับร้านค้าที่มูลนิธิฯ
ซื้อมาได้ โดยทุกคนจะถือถุงพระราชทานเดินผ่านเพื่อรับของในแต่ละจุด เหมือนการตักบาตร ฉะนั้น
ทุกคนจะได้รับสิ่งของที่มีคุณภาพเหมือนกัน ในเวลาเดียวกัน รวมทั้งเป็นการลดการใช้กำลัง และค่าใช้จ่าย
ในการจัดของลงถุง ตลอดจนป้องกันการเสียหายได้ด้วย
124
ส่วนการประสานให้ผู้ประสบภัย
มารวมตัวและรับของในจุดเดียว แทนที่มูลนิธิฯ
จะเดินทางเข้าไปแจกของถึงตัวประชาชน
ณ ที่พัก ช่วยให้สามารถแจกถุงยังชีพ
พระราชทานได้มากถึง ๖,๐๐๐ ชุดต่อวัน
รวมถึงใช้วิธีการให้ผู้รับของแจกช่วยเก็บ
เก้าอี้และขยะ เพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่
ซึ่งนับเป็นการบริหารจัดการที่เป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และช่วยสร้างวินัย
ให้เกิดแก่ประชาชนด้วย
ด้านการกำหนดพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ จะเข้าไปแจกในส่วนที่เดือดร้อนที่สุด โดยใช้กลไก
ของทางรัฐบาลในจังหวัดคือผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใกล้ชิด
ข้อมูลช่วยคัดเลือกให้ และเวลาที่มูลนิธิฯ ลงพื้นที่จะมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย ซึ่งจะช่วยให้การแจกของของหน่วยงานต่างๆ
ไปถึงผู้ที่เดือดร้อนจริง และมีการกระจายอย่างทั่วถึง และนี่คือเหตุผลที่มูลนิธิฯ เข้าถึงพื้นที่เร็วที่สุด
ให้การสงเคราะห์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างบูรณาการ
อย่างไรก็ตาม มูลนิธิฯ ไม่สามารถทำงาน
ทุกอย่างเพียงลำพังได้ รัฐบาลยังคงต้องเป็นเสาหลัก
ในการที่จะเข้ามาช่วยเหลือ มูลนิธิฯ เพียงแต่ช่วยดึงเขา
ขึ้นมาก่อน หน้าที่ต่อไปคือ ไปตามหมอหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
มาช่วยเหลือเขา เพราะเราคงไม่สามารถทำทุกอย่าง
เพียงลำพัง เราไปถึงที่เกิดเหตุก่อน เพื่อให้ความช่วยเหลือ
เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย คำว่า เบื้องต้น คือ น้ำท่วม
ไม่มีอาหารกิน ก็ส่งเครื่องบริโภค ข้าวปลาอาหาร น้ำดื่ม ฯลฯ ไปให้ ไฟไหม้ บ้านพัง ก็ส่งเครื่องอุปโภค
เช่น หม้อ กระทะ อุปกรณ์ต่างๆ หรือผู้ประสบภัยหนาว ก็จะได้รับพระราชทานผ้าห่ม เป็นต้น เราทำหน้าที่
อุ้มชูเขาขึ้นมา แล้วส่งต่อผ่านให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้การช่วยเหลือต่อไป
ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับสั่งแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ความตอนหนึ่งว่า
“...เมื่อผู้ใดประสบภัยธรรมชาติแล้วย่อมมีความเดือดร้อนมาก เพราะไม่ทราบ
ล่วงหน้าว่าภัยธรรมชาติจะมาเมื่อไหร่ ใครจะโดนมากน้อยแค่ไหนก็ไม่ทราบ ฉะนั้นเมื่อ
ถูกภัยธรรมชาติแล้ว จึงทำให้จิตใจมีความทุกข์มาก และการที่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
125
ได้ปฏิบัติการ ก็ได้บรรเทาความเดือดร้อนนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะว่าเมื่อเดือดร้อน
ได้มีผู้ไปช่วยเหลือโดยเร็ว ก็ทำให้จิตใจนั้นเบิกบานขึ้นได้ ในการนี้ก็ต้องอาศัยกำลังคน
ที่จะไปปฏิบัติการ และกำลังทรัพย์ที่จะนำสิ่งของไปบริจาค ท่านทั้งหลายที่บริจาคเงิน
จึงเป็นผู้ที่ช่วยเหลือกิจการนี้และนับได้ว่าได้บุญมากที่ได้สงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก
โดยฉับพลัน...”
ด้วยเหตุนี้ บทบาทการทำงานของมูลนิธิฯ ไม่เพียงแค่ส่งมอบถุงยังชีพพระราชทาน แต่รวมถึง
การประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ให้เข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที คือช่วย “เติมเต็ม
ในสิ่งที่ขาด” ซึ่งเป็นภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของมูลนิธิฯ ที่จะต้องทำงานร่วมกับหน่วยงาน
ต่างๆ ได้ ด้วยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ช่วยเหลือประชาชนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พ้นจาก
ความทุกข์ที่เขาประสบ
เพราะมูลนิธิฯ ไม่ใช่มีเพียงพระราชา แต่โดยความหมายคือ พระราชาและประชาชน
อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน อันเป็นการแสดงน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
“เวลาทำงานควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย” ปัจจุบันนี้ จึงมีหน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณกุศล
เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยไม่ต้องแข่งกันทำ แต่เป็นการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจาก
ทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย
ไม่ควรให้ปลาแก่ผู้ยากไร้ แต่ควรให้เบ็ด เพื่อให้เขายังชีพต่อไปได้
นอกจากการเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วและ
ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องให้เยียวยาต่อไปได้แล้ว
สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ แนวทางช่วยเหลือระยะยาว
แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กกำพร้า
ที่สูญเสียผู้ปกครองจากภัยพิบัติ ก็จะขาดผู้อุปการะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์
ให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนหนังสือตามกำลังความสามารถ
เด็กคนใดถนัดทางวิชาชีพก็ส่งเสริมในทางวิชาชีพ
คนใดขยันขันแข็งก็ส่งเสริมให้เรียนถึงขั้นอุดมศึกษา
เพื่อจะได้ช่วยตนเองและเป็นกำลังรับใช้ประเทศชาติต่อไป โดยมูลนิธิฯ ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องระยะยาว
เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณของทางราชการ โดยพระองค์รับสั่งว่า
“เราไม่ควรให้ปลาแก่ผู้ยากไร้ เราควรให้เบ็ด เพื่อให้เขายังชีพต่อไปได้ในอนาคต”
การให้การศึกษา จึงเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของมูลนิธิฯ ที่จะช่วยให้ลูกหลานของผู้ประสบภัย
ได้เล่าเรียนจนถึงวุฒิการศึกษาที่สูงสุดตามที่เด็กประสงค์จะเรียน เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ และเป็น
พลเมืองที่ดีของชาติต่อไป
126
ขยายขอบเขตทุนพระราชทานการศึกษา
นอกจากนี้ในระยะเริ่มแรกกรรมการ
เป็นห่วงเรื่องจะต้องใช้เงินจำนวนมาก แล้วเด็กจะ
เรียนต่อไปไม่ได้ หากมูลนิธิฯ มีปัญหาเรื่องการเงิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า จะทรงช่วย
โดยให้กรรมการมูลนิธิฯ กราบบังคมทูลขอไป
ต่อมา เมื่อมูลนิธิฯ เติบโตมั่นคงขึ้น ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยาย “ทุนพระราชทาน
การศึกษา” แก่นักเรียนที่เรียนดีเยี่ยมในโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ทุกแห่ง โดยไม่จำเป็นต้อง
เป็นบุตรผู้ประสบภัยเท่านั้น โดยขยายโอกาสถึงเด็กยากจนมากเป็นพิเศษ มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด
ถูกทอดทิ้งและกำพร้า ถูกทำร้ายอย่างทารุณ ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคม
รังเกียจ เด็กในชนกลุ่มน้อย เร่ร่อน ถูกบังคับให้ขายแรงงานอยู่ในธุรกิจบริการทางเพศ และเด็กในสถานพินิจ
และคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดังนั้น จึงมีเด็กในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิฯ เรียนจบออกไปทำงานรับใช้
ชาติบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก
ทุนดำเนินการของมูลนิธิฯ
การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุน
ด้านการเงินจาก ๕ ส่วนด้วยกัน หนึ่ง ได้รับพระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอง เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
สาม เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา โดยผู้ที่บริจาคเงินเกิน
หนึ่งพันบาททางมูลนิธิฯ จะนำเงินไปฝากธนาคารหรือซื้อ
พันธบัตร ภายใต้ชื่อโครงการ “สมุดออมเงินเพื่อผลบุญ
ที่งอกเงยไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด” สี่ ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้ และ
ห้า จากดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินอันเป็นทุนของมูลนิธิฯ
ผลการดำเนินงานสำคัญ
นับเป็นเวลา ๔๘ ปี ที่ไปรษณีย์แห่งนี้ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่างๆ โดยให้
ความช่วยเหลือตั้งแต่ด้านอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ซ่อมแซมที่พักอาศัย สร้างที่พักชั่วคราว
รวมทั้งรับสงเคราะห์บุตรหลานของผู้ประสบภัยที่กำพร้าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่เสียชีวิต
127
ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๐๖ -
กันยายน ๒๕๕๔ ได้ให้ความช่วยเหลือรวม ๒,๔๖๕,๘๒๒ ครอบครัว มีจำนวน ๙,๖๖๖,๔๒๗ คน
คิดเป็นมูลค่าสิ่งของพระราชทาน ๖๖๒.๕ ล้านบาท ประกอบด้วย อุทกภัย ๔๖๑.๔ ล้านบาท ภัยหนาว
๑๐๘.๐ ล้านบาท อัคคีภัย ๓๖.๘ ล้านบาท วาตภัย ๒๐.๓ ล้านบาท และภัยอื่นๆ ๓๖.๐ ล้านบาท
สำหรับการมอบทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ต่อเนื่องแก่นักเรียนกำพร้าที่ครอบครัว
ประสบสาธารณภัยต่างๆ โดยได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี ในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์
ซึ่งมีอยู่ ๔๔ แห่งทั่วประเทศ ตลอดจนให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยาก
เดือดร้อนตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนตามความถนัดของแต่ละคนจนจบการศึกษา
ขั้นสูงสุดเท่าที่จะเรียนได้ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๙ จนถึงปัจจุบัน รวม ๑,๗๑๖ คน โดยสำเร็จการศึกษาระดับต่างๆ
แล้ว ๑,๒๐๖ คน และกำลังศึกษาอยู่ ๕๑๐ คน
“เครือข่ายสังคม” ภาพลักษณ์ใหม่และแนวทางบริหารของมูลนิธิฯ
แนวความคิดหลักการบริหารของผมคือ พบกันเมื่อเกิดภัย เวลาที่ทัศนียภาพสวยงาม อากาศ
เย็นสบาย ผมไม่เคยได้ไปเที่ยวเลย ถ้าอากาศหนาวจัดผมจะไปแจกผ้าห่ม ภัยแล้งก็ไปทำฝนหลวง น้ำท่วม
ก็ไปแจกถุงยังชีพ มูลนิธิฯ จะเข้าไปถึงก่อน ต่อมาหน่วยงานราชการก็จะตามเข้ามาบูรณาการต่อไป จากนั้น
เราจะกลับเข้าไปอีกรอบไปดูแลสงเคราะห์ว่าเขามีความเป็นอยู่อย่างไร พร้อมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่
เด็กกำพร้าที่สูญเสียผู้ปกครองจากภัยพิบัติ สร้างโรงเรียน หรือสถานที่สาธารณประโยชน์ที่ทำให้เกิด
ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันผมได้ใช้แนวการบริหารแบบใหม่
ซึ่งเห็นได้จากการปรากฏตัวของมูลนิธิฯ ในโลกของ
เครือข่ายสังคม (Social Network) ที่นิยมในปัจจุบันคือ
facebook ทีวีดาวเทียม สื่อสิ่งพิมพ์ และได้ร่วมทำ
กิจกรรมกับหน่วยงานที่หลากหลาย ตลอดจนร่วมจัดทำ
ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๗ เรื่อง เพื่อให้
ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงพระราชกรณียกิจอันแสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะ
พระมหากรุณาธิคุณ และความเสียสละของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
เด็กรุ่นใหม่รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แต่ไม่ซาบซึ้งว่า
การใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงงานไว้อย่างเหนื่อยยากและ
ตรากตรำ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หรือภาคเอกชนเข้ามาร่วม จึงทำให้เกิดประโยชน์สุข
การเปิด facebook ของมูลนิธิฯ เป็นประโยชน์อย่างมาก มีผู้ที่จิตอาสาเข้ามาเป็นเครือข่าย
จำนวนมาก เช่นขณะนี้ประชาชนประสบปัญหาอุทกภัย ในบางพื้นที่จำเป็นต้องจัดถุงยังชีพไปจาก
สำนักงาน ต้องบรรจุถุงยังชีพครั้งละ ๒ หมื่นถุง เราใช้วิธีแจ้งทาง facebook ปรากฏว่าผู้มีจิตอาสาเข้ามา
ช่วยเป็นจำนวนมาก
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิธีทําโบว์ริบบิ้นผ้า
ขั้นตอน
-
1เลือกจากสิ่งที่จะนำโบว์ไปติด สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเลือกชนิดและสีของริบบิ้นได้ เช่น ถ้าจะนำโบว์ไปใช้กับเสื้อผ้าที่คุณกำลังตัดเย็บอยู่ หรือใช้เป็นเครื่องประดับให้เข้ากับชุดสักชุด คุณควรเลือกริบบิ้นที่เข้ากับสีและเนื้อผ้าของเสื้อผ้า
-
2เลือกจากคุณภาพ ริบบิ้นผ้าซาตินเป็นริบบิ้นมาตรฐานสำหรับใช้ทำโบว์ แต่สำหรับมือใหม่ ริบบิ้นผ้าซาตินอาจจะลื่นเกินไปได้ ลองใช้ริบบิ้นผ้าแพรต่วน, ผ้าพิมพ์, กำมะหยี่, ผ้าดิ้นเงิน, ผ้าคอตตอน, ผ้าโปร่ง หรือริบบิ้นชนิดอื่นๆ ริบบิ้นเหล่านี้ก็เหมาะที่จะนำมาทำโบว์เช่นกัน ส่วนริบบิ้นที่มีขอบลวดเหมาะสำหรับการห่อของขวัญและการจัดช่อดอกไม้
- ง่ายที่สุดเลยคือถ้าคุณสามารถผูกริบบิ้นเป็นปมแน่นๆ ด้วยมือคุณเองได้ คุณก็สามารถผูกริ้บบิ้นให้เป็นโบว์ได้เช่นกัน
- ริบบิ้นบางชนิดแข็งเกินไปที่จะให้เป็นโบว์ได้ จึงต้องใช้การมัดลวดหรือการเย็บเข้ามาช่วย
-
3ทดลอง ลองใช้ริบบิ้นที่มีเนื้อผ้าและขนาดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อหาแบบที่คุณตรงใจคุณ
- จำไว้เสมอว่าการทำโบว์ใช้ริบบิ้นจำนวนมากเพราะทุกหูและทุกหางของโบว์ต่างก็ใช้ริบบิ้นทั้งนั้น
วิธีการ 1 จาก 4: การผูกโบว์แบบเบสิค
-
1เริ่มจากแบบที่ไม่ซับซ้อน เลือกแบบโบว์ให้เหมาะกับการใช้งานและความต้องการของคุณ เมื่อคุณเข้าใจเทคนิคพื้นฐานในการทำโบว์แล้ว คุณก็สามารถนำเทคนิคเหล่านั้นมาดัดแปลงใช้กับโบว์แบบอื่นๆได้
-
2ตัดริบบิ้นให้ได้ความยาวที่พอดี อย่าลืมเผื่อความยาวไว้ให้พอสำหรับหางยาวๆ และการจัดโบว์ให้ได้รูป[1]
- วางริบบิ้นที่ตัดลงบนพื้นราบ
-
3จับปลายทั้งสองข้างเจอมาไขว้ไว้ตรงกลาง คุณจะได้หูและหางทั้งสองข้าง จัดหูของโบว์ให้เข้ารูป[2]
-
4ปรับแต่งขนาด ลองดูว่าห่วงและหางของโบว์ได้ขนาดและความยาวที่คุณต้องการและสมมาตรกัน
-
5พับหูซ้ายลงบนหูขวา จากนั้นดึงหูของโบว์ที่อยู่ด้านบนลอดผ่านช่องตรงกลางของหูที่อยู่ด้านล่าง ดึงตรงกลางให้แน่น [3]
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)